การปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
dc.title | การปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก | |
dc.title.alternative | Transforming Public Sector Organizations into the Digital 4.0 Era: A Case Study of the Government Organization in Phitsanulok Province | |
dc.contributor.author | ศริลินทิพย์ สระสิทธิ์ | |
dc.contributor.advisor | ธนัสถา โรจนตระกูล | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาโท | |
dc.thesis.degreename | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 และ 3) ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 290 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ บุคลากรระดับสูงในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ (x̄= 4.60) ด้านความรับผิดชอบในงาน (x̄= 4.58) ด้านทัศนคติ (x̄= 4.55) ด้านทักษะ (x̄= 4.51) ด้านความรู้ (x̄= 4.43) และองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร (x̄= 4.65) ด้านการหาพันธมิตรเข้ามาช่วย (x̄= 4.64) ด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้ (x̄= 4.60) ด้านการมีจุดแข็งเป็นของตัวเอง (x̄= 4.57) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และตำแหน่งงาน ต่างกันมีผลทำให้ความพร้อมของบุคลากรและความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 พบว่า มีการกำหนดนโยบายการปรับเปลี่ยนองค์การ ทั้งด้านการพัฒนาระบบงานและการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบงาน เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานภายในองค์กรสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร | |
dc.subject | การบริหารคุณภาพโดยรวมในภาครัฐ | |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ--ส่วนภูมิภาค | |
dc.keywords | Digital Government 4.0 | |
dc.keywords | การปรับองค์กรภาครัฐ | |
dc.keywords | อบจ.พิษณุโลก | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/408 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1771&obj_id=8887 |