การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ไม่มีรูปตัวอย่าง
ชื่อเรื่อง
การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่น
A Study of the Process of Driving Civil Administration : Case Study of the Community Welfare Fund of Aranyik Sub-district, Mueang District, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ไม่มีรูปตัวอย่าง
ปีที่เผยแพร่
2566
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
ประเภทของทรัพยากร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ชนิดของไฟล์ข้อมูล
ภาษา
หน่วยงานที่เผยแพร่
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ผู้ครอบครองสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สิทธิ์ในการใช้งาน
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
กลุ่มข้อมูล
ชื่อเรื่อง
การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่น
A Study of the Process of Driving Civil Administration : Case Study of the Community Welfare Fund of Aranyik Sub-district, Mueang District, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง
ผู้แต่งร่วม
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
หน่วยงานที่สังกัด
ระดับปริญญา
ชื่อปริญญา
สาขาวิชา
มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เนื้อเรื่องย่อ/สาระสังเขป
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอรัญญิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน โดยผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นคณะกรรมการและสมาชิกองกองทุนสวัสดิการชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค การเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง หัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ในการกระตุ้น ส่งเสริม ให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในทุกกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
2. เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จากผลการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม พบว่า บทบาทเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริม สนับสนุนกลไกการทำงาน ด้านทรัพยากร มีรูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงล้อหรือดาว ส่วนเครือข่ายทางสังคมที่เป็นดาวเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลเมืองอรัญญิก) เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นศูนย์กลาง และมีความแข็งแรง คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นตัวกลาง คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มีค่าความหนาแน่น = 0.5
3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จะต้องมุ่งเน้นให้ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนฯ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ และทำความเข้าใจในบทบาทของตนเองอย่างครอบคลุมและรอบด้าน
รายละเอียด
การอ้างอิง
ผู้ให้ทุน
การอ้างอิง
ยุวดี พ่วงรอด. (2566). การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม]. https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/424