• ไทย
  • English
Log In
คลิกลงทะเบียนลืมรหัสผ่าน
โลโก้คลังสารสนเทศ
หน้าแรก
เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • วิสัยทัศน์
  • พันธกิจ
  • นโยบายการพัฒนา
  • โครงสร้างองค์กรและบุคลากร
  • ผู้เชี่ยวชาญ
  • เป้าหมาย
  • การเข้าถึงและการใช้งาน
  • การนำไปใช้และการเผยแพร่
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การติดต่อ
การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
  • ข้อตกลงในการอนุญาตให้จัดทำและเผยแพร่
  • แนวทางปฏิบัติในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
  • แผนการบำรุงรักษาไฟล์ดิจิทัล
  • มาตรฐานรูปแบบไฟล์
  • เกี่ยวกับเมทาดาทา
  • แผนสืบทอดคลังสารสนเทศ
  • มาตรการและแนวทางดำเนินงานเมื่อมีการใช้ทรัพยากรผิดเงื่อนไข
  • แผนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  • กระบวนการทำงาน
  • คู่มือการสืบค้น
  • คู่มือการบันทึกผลงาน
  • ร้องเรียนและขอถอนทรัพยากรสารสนเทศ
การรับรองมาตรฐาน
  • แบบประเมินตนเอง
  • รายงานการประเมินตนเอง
การเยี่ยมชมบันทึกผลงาน
  1. หน้าแรก
  2. ค้นหาตามชื่อผู้แต่ง

เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์"

กรองผลลัพธ์โดยการพิมพ์ตัวอักษรสองสามตัวแรก
กำลังแสดง1 - 20 of 20
  • Results Per Page
  • ตัวเลือกการเรียงลำดับ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) กล้าณรงค์ แสนพะเยาว์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ธนัสถา โรจนกูล
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ 2) ปัจจัยที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ สมาชิกชุมชนท่องเที่ยว 3 ชุมชน จำนวน 335 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้นำชุมชนหรือผู้แทนชุมชน คณะกรรมการชุมชน และสมาชิกในชุมชน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่แนวคิดและความสามารถของคน คุณภาพชีวิตคนในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนและการบริหารจัดการและความสัมพันธ์ของชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย ด้านศักยภาพขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านทรัพยากร ด้านทักษะและสิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ 3. แนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พบว่า 3.1 ความชัดเจนของนโยบาย ควรกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วม ให้ชัดเจน เพื่อสร้างอาชีพ และกระจายรายได้ให้แก่คนในชุมชน 3.2 ศักยภาพขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ควรจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว 3.3 ทรัพยากร ควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนผ่านเฟชบุค (Facebook) ไลน์ (Line) และเว็บไซด์ (website) ของหน่วยราชการ 3.4 ทักษะและสิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย ควรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยวแก่คนในชุมชน 3.5 ชุมชนควรมีการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมและบริการของท่องเที่ยวชุมชน เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่อไป
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ปัจจัยและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้ตารางคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.724 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว รองลงมาคือ เส้นทางการเข้าถึงชุมชน ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวด้านการจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน ด้านการจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ปัจจัยการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีผลต่อการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า แนวทางการบริหารจัดการชุมชนสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มี 6 ข้อ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) การจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน 3) การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว 4) ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) เส้นทางการเข้าถึงชุมชน และ6) การจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
    (2567) ศริลินทิพย์ สระสิทธิ์; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 และ 3) ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 290 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ บุคลากรระดับสูงในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ (x̄= 4.60) ด้านความรับผิดชอบในงาน (x̄= 4.58) ด้านทัศนคติ (x̄= 4.55) ด้านทักษะ (x̄= 4.51) ด้านความรู้ (x̄= 4.43) และองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร (x̄= 4.65) ด้านการหาพันธมิตรเข้ามาช่วย (x̄= 4.64) ด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้ (x̄= 4.60) ด้านการมีจุดแข็งเป็นของตัวเอง (x̄= 4.57) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และตำแหน่งงาน ต่างกันมีผลทำให้ความพร้อมของบุคลากรและความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 พบว่า มีการกำหนดนโยบายการปรับเปลี่ยนองค์การ ทั้งด้านการพัฒนาระบบงานและการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบงาน เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานภายในองค์กรสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) สิริลักษณ์ วงศ์ประสิทธิ์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนว แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวในสถานศึกษาตามแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สังเคราะห์องค์ประกอบจากศึกษาเอกสาร ตํารา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จำนวน 5 คน โดยใช้สูตรการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence Index: IOC) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยการนำองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระยะที่ 1 มาพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการ แนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion: FGD) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ด้านนโยบายงานด้านการแนะแนว 2. ด้านการจัดบริการแนะแนวและให้คำปรึกษา 3. ด้านการวางแผนงานด้านการแนะแนว 4. ด้านโครงสร้างบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5. ด้านระบบบริหารงานด้านการแนะแนว 6. ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานแนะแนวแบบมุ่งสัมฤทธิ์ ผลตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสม ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ทุกองค์ประกอบ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) จิรกฤต ธนกฤตศนนท์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์กู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมกู้ชีพกู้ภัย และโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 248 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรถพยาบาลและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านทักษะความรู้ในการออกปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและศูนย์สั่งการ ด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และด้านการสนับสนุนและขวัญกำลังใจ ตามลำดับ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม 3) ยังขาดการจัดสรรงบประมาณที่จะส่งผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นฐาน 3) การลาออกเนื่องจากค่าตอบแทนไม่พอกับการดำรงชีพ 4) ผู้สมัครเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติยังไม่ผ่านการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน 3. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) จัดทำปฏิทินการจัดอบรมเพื่อแจ้งให้ทุกหน่วยงานทราบ 2) ให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย 3) การนิเทศติดตามศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินทุกแห่งเพื่อหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจให้กับคนทำงาน 4) การถอดบทเรียนการดำเนินงานของการแพทย์ฉุกเฉินในทุกปี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำสู่การแก้ไขให้บุคลากร และ 5) การศึกษาและนำเสนอระเบียบกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาในการหนุนเสริมภารกิจของการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อหาทางออกร่วมกันและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) นรากรณ์ ค่ำสว่าง; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพือ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที9ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือประชาชนในเขตอําเมืองพิษณุโลก 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า f-test และการทอสอบรายคู่ (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการมีส่วนร่วมรับข้อมูลข่าวสาร ด้านการมีส่วนร่วมให้ข้อมูล ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีด้านการมีส่วนร่วมสนับสนุน และด้านการมีส่วนร่วมในการทํางานทุกขั้นตอน ตามลําดับ 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกัน โดยรวมมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันโดยรวมมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมประชาคมแสดงความคิดเห็นปัญหาความต้องการ ควรจัดให้มีการอบรมหรือกิจกรรมให้ความรู้เข้าใจในการพัฒนาแผนแก่ประชาชน เพื่อสร้างแรงจูงใจและความใกล้ชิดประชาชน
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พิมพ์รดา ธรรมีภักดี; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาล จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง 0.801 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม AMOS และContent analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, SD= .373) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาล ในรูปแบบ 3Y ๋ Model ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ (Visioning) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ มีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน การเปลี่ยนวิสัยทัศน์สู่แผนการลงมือทำ การวางวิสัยทัศน์อนาคต และการรับฟังผู้อื่นเพื่อต่อยอดเป็นวิสัยทัศน์ การตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลง (Sense Making) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ ต้อง Transform นำหน้าการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงเสมอ การผลักดันคนในทีมให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ตีความหมายใหม่จากความไม่แน่นอน และกล้าที่จะทดลอง และการมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ (Goal Achievement) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ มุ่งมั่นในความสำเร็จ อดทน ใจสู้ สำนึกแบบเจ้าของงาน พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวในความไม่แน่นอน นำไปสู่การสร้างผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง Y ๋Team
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ยุวดี พ่วงรอด; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอรัญญิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน โดยผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นคณะกรรมการและสมาชิกองกองทุนสวัสดิการชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค การเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง หัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ในการกระตุ้น ส่งเสริม ให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในทุกกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จากผลการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม พบว่า บทบาทเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริม สนับสนุนกลไกการทำงาน ด้านทรัพยากร มีรูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงล้อหรือดาว ส่วนเครือข่ายทางสังคมที่เป็นดาวเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลเมืองอรัญญิก) เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นศูนย์กลาง และมีความแข็งแรง คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นตัวกลาง คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มีค่าความหนาแน่น = 0.5 3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จะต้องมุ่งเน้นให้ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนฯ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ และทำความเข้าใจในบทบาทของตนเองอย่างครอบคลุมและรอบด้าน
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    นโยบายภาครัฐในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พศิน พาณิชย์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 410 คน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ปราชญ์ชาวบ้านในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนส่วนใหญ่เข้ามาท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ คิดเป็นร้อยละ 48.78 และเข้ามาท่องเที่ยวช่วงเดือน ตุลาคม–ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 56.09 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านการดึงดูดการท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการข้อมูลเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างการรับรู้คุณค่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านศักยภาพของบุคลากรชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ได้แก่ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้โดดเด่น ได้มาตรฐาน และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลให้มีความทันสมัย
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    บทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการพํฒนาชุมชน อย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) นันทศรัย บัวเผื่อน; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 338 คน และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่า t – test ค่า F – test และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการรายงานต่อทางราชการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการที่เกี่ยวกับคดีอาญา และภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านคุณลักษณะผู้นำเชิงสถานการณ์ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกันส่วนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีอาชีพ รายได้ สถานภาพ ตำแหน่งงาน และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านต้องพัฒนาความสามารถของตนเองในด้านคุณลักษณะผู้นำที่ดีโดยสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาทักษะการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเกี่ยวกับคดีอาญา การประนีประนอมข้อพิพาท ป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย จัดระเบียบสังคม และให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) กิตติพล บัวทะลา; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลและแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ใช้แบบสอบถาม จำนวน 230 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหาร ปลัดเทศบาล และนายอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดี ใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล รองลงมาคือด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน และด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนปัจจัยการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือด้านความชัดเจนของแผนบูรณาการ รองลงมาคือด้านสมรรถนะของหน่วยงาน ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านทรัพยากรในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติ โดยปัจจัยด้านความชัดเจน ทรัพยากรการติดต่อสื่อสาร และสมรรถนะของหน่วยงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และมีแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ คือเงื่อนเวลา ปริมาณ คุณภาพสถานที่ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จริง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังโครงการ และความจำเป็นเร่งด่วนนำไปสู่ประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 3 ด้าน คือ 1) ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล 2) ด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน 3) ด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อไป
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) กัลยารัตน์ วุฒิปรัชญานันท์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณกับ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือจำนวน 9 คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านนิติธรรมมีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.47 รองลงมาได้แก่ ด้านการตอบสนอง มีค่าเฉลี่ย = 4.45 ด้านประสิทธิภาพ ด้านมุ่งฉันทามติ มีค่าเฉลี่ย = 4.44 ด้านประสิทธิผล ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย = 4.43) ด้านการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย = 4.42 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย = 4.41 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .286, .281, .213 และ .207 ตามลำดับ ได้ค่า Adjusted R Square = .665 หรือ 66.50% ส่วนแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปฏิบัติ พบว่า ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องตระหนักให้ดีเกี่ยวกับการบริหารองค์กรในเรื่องของความคุ้มค่า มีประสิทธิผล
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) นริศรา บำยุทธิ์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 3) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและ เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดขนาดด้วยสูตรสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาค่า t-test และ F-test One-Way ANOVA สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) จำนวน 10 คน โดยผลการวิจัยสรุปว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านปัจจัยสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (r = .845**) การรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .458**) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .513**) 3. แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 คือควรมีการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลตนเองและเป็นที่พึ่งต่อคนในครอบครัวและประชาชนในชุมชนได้ เพื่อให้เกิดการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดต่ออื่นๆ ในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) ดำรงค์ชัย หยวกยง; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น 2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ ข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 219 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร นายกเทศบาลเมือง นายกเทศบาลตำบล จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t- test F-test การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเวลาที่ใช้ในงาน (x̄= 4.25) รองลงมาด้านคุณภาพงาน (x̄= 4.22) ด้านปริมาณงาน (x̄= 4.19) และด้านค่าใช้จ่าย (x̄= 4.11) 2. ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารขององค์กร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร และด้านความมั่นคงในงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น พบว่า มีการกำหนดนโยบายการบริหารขององค์กรที่ชัดเจน ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับตำแหน่งและความสามารถ ส่งเสริมการประสานงานภายในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสร้างความรู้สึกถึงความมั่นคงในการทำงาน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ข้าราชการท้องถิ่นที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า โดยใช้วิธีการวิจัยอนาคตเดลฟายแบบปรับปรุงและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญจาก 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ ข้าราชการฝ่ายปกครอง และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับรอบที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม ส่วนรอบที่ 2 และ 3 วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า ดังนี้ (1) บทบาทผู้นำ ประกอบด้วย บทบาทการปกครอง บทบาททางสังคม และบทบาทกลไกของรัฐ (2) มีความรู้ ประกอบ กฎหมาย ระบบราชการ งานสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม การประกอบธุรกิจและการอาชีพ (3) มีทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการวางแผน ทักษะการไกล่เกลี่ย ทักษะทางเทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน (4) บุคลิกภาพ ประกอบด้วย การมีมารยาทและรู้กาลเทศะในสังคม การแต่งตัวดีสะอาดเรียบร้อย การแสดงออกอย่างเหมาะสม และการมีวาจาที่ดี (5) มีคุณธรรม ประกอบด้วย มีความยุติธรรม มีทัศนคติที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความโปร่งใส (6) มีการร่วมมือ ประกอบด้วย การปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การรับฟังปัญหาทุกภาคส่วน การตัดสินใจร่วมกัน และการสร้างเป้าหมายร่วมกัน (7) ภูมิหลังทางสังคม ประกอบด้วย ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่ บารมีทางการเมือง และประสบการณ์การทำงานสังคม และในการพัฒนา (1) ต้องมีการกำหนดวาระ (2) การเรียนแบบออนไลน์ (3) ต้องกำหนดตัวชี้วัด (4) มีระเบียบรองรับการพัฒนา (5) มีบทลงโทษถ้าไม่พัฒนาตนเอง
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก อย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อัชรี กุลบุตร; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทุนทางวัฒนธรรม และแนวทางการจัดการทุนทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจำนวน 5 แห่ง/จังหวัด ตีความข้อมูลจากเอกสารกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาวิเคราะห์เนื้อหา การตรวจสอบแบบสามเส้า จากกลุ่มตัวอย่างการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมชุมชน ด้านการบริหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นเรื่องทุนทางวัฒนธรรมส่งผลอย่างไรในการพัฒนาและมีกระบวนการอย่างไรที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจในกับชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นที่สำคัญ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีข้อมูล Input คือ ชุมชนควรมีการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลัก “รู้ รัก สามัคคี” และนำทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง ด้านการแต่งกาย ด้านอาหาร ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ และทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านภาษา ด้านพิธีกรรม ความเชื่อ ด้านศิลปะการแสดง และด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยมีการจัดการ Process คือ การอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรม การสืบสานทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน และมีกระบวนการดำเนินงานตามแบบ “Thai Song Dam” Output คือ ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการอนุรักษ์ สืบสานวิถีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทยทรงดำ มีฐานเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็ง และแบรนด์ Brand Image ไทยทรงดำ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) รุ่งโรจน์ ฝ้ายเยื่อ; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3.เพื่อประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 620 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ตามแนวคิดของ Robert K.Greenleaf วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย Chi-Square = 2239.213, df= 727, p-value=0.000, CFI=0.971, TLI=0.969, RMSEA=0.058 และ WRMR= 1.440 2.รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อมเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม แบ่งเป็น 4 หน่วยเรียนรู้ คือ 1)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, 2)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าใจ”, 3)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าถึง”,และ 4)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “พัฒนา” 3. ผลการประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระดับคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63) และระดับคุณภาพความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55)
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) พนาวัน เปรมศรี; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 395 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.98) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ตัวแปร เรียงลำดับผลต่อการผันแปรจากมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ (X₈ Beta = .320) ด้านเงินหรืองบประมาณ (X₆ Beta = .265) ด้านคนหรือบุคคล (X₅ Beta = .118) และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (X₂ Beta = .084) และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ควรมุ่งพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรมีความพร้อมตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายในทุกขั้นตอนมากขึ้น และปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการปรับทัศคติ และจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อานุภูม มณเฑียร; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; โชติ บดีรัฐ
    การศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกกรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจกับบุคลากรของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จำนวน 236 คน โดยเก็บจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสภาพการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรายงานผลการปฏิบัติการ รองลงมา คือ ด้านการอำนวยการและการสั่งการ ด้านการจัดองค์กรเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ ด้านการบริหารงบประมาณในพื้นที่ ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน ด้านการจัดบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ และด้านการประสานงาน ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พบว่า การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่ง เงินเดือน และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก ไม่แตกต่างกันทุกด้าน 3. แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พบว่า 1) การดำเนินการสำรวจจัดทำทะเบียนจำนวนโบราณสถานทั้งหมดให้ชัดเจน 2) การดำเนินการทางด้านงานวิชาการและงานบูรณะโบราณสถาน 3) การดำเนินการถ่ายทอดข้อมูลองค์ความรู้ด้านแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ 4) การดำเนินการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและชุมชน และ 5) การดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผลประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่จากการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) ชลธิชา ทองทา; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ และศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 210 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ นายอำเภอพรหมพิราม ปลัดอำเภอ เสมียนตราอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และพัฒนาการอำเภอ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริการ (x̄ = 4.39) ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย (x̄ = 4.30) ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน (x̄ = 4.28) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ระดับมาก (x̄ = 4.21) และศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.39) ด้านทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.28) ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.25) 2. ปัจจัยบทบาทหน้าที่ ได้แก่ ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ด้านการบริการ ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน พบว่า มีการจัดอบรมให้ความรู้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และการใช้สื่อออนไลน์ เช่น Facebook และ LINE เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์ กระบวนการ และขั้นตอน ในการปฏิบัติหน้าที่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว รวมถึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพมากขึ้น

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

156 ม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

โทรศัพท์: 0-5526-7224-5

เว็บไซต์: library.psru.ac.th

E-mail: lib_pibul@live.psru.ac.th

LiveChat

Pibulsongkram Logo

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

Follow Us
Pibulsongkram Logo

                       

©2025 คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงสำหรับผู้ใช้
  • ข้อเสนอแนะ