ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ชื่อเรื่อง

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

ชื่อเรื่องอื่น

Factors Affecting the Performance of Village Health Volunteers in the Prevention and Surveillance of the Coronavirus Disease 2019 in the Lower Northern Provinces 1

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ปีที่เผยแพร่

2566

Journal Title

Journal ISSN

Volume Title

ประเภทของทรัพยากร

วิทยานิพนธ์/Thesis

ชนิดของไฟล์ข้อมูล

ภาษา

หน่วยงานที่เผยแพร่

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้ครอบครองสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

สิทธิ์ในการใช้งาน

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

กลุ่มข้อมูล

ชื่อเรื่อง

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

ชื่อเรื่องอื่น

Factors Affecting the Performance of Village Health Volunteers in the Prevention and Surveillance of the Coronavirus Disease 2019 in the Lower Northern Provinces 1

ผู้แต่งร่วม

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ระดับปริญญา

มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เนื้อเรื่องย่อ/สาระสังเขป

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 3) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและ เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดขนาดด้วยสูตรสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาค่า t-test และ F-test One-Way ANOVA สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) จำนวน 10 คน โดยผลการวิจัยสรุปว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านปัจจัยสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (r = .845**) การรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .458**) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .513**) 3. แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 คือควรมีการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลตนเองและเป็นที่พึ่งต่อคนในครอบครัวและประชาชนในชุมชนได้ เพื่อให้เกิดการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดต่ออื่นๆ ในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป

รายละเอียด

การอ้างอิง

ผู้ให้ทุน

การอ้างอิง

นริศรา บำยุทธิ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม]. https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/420

Endorsement

Review

Supplemented By

Referenced By