การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
ไม่มีรูปตัวอย่าง
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่องอื่น
Developing the Potential of Emergency Medical Operators of Local Government Organizations in Phichit Province
ผู้แต่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ไม่มีรูปตัวอย่าง
ปีที่เผยแพร่
2567
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
ประเภทของทรัพยากร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ชนิดของไฟล์ข้อมูล
ภาษา
หน่วยงานที่เผยแพร่
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ผู้ครอบครองสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สิทธิ์ในการใช้งาน
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
กลุ่มข้อมูล
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่องอื่น
Developing the Potential of Emergency Medical Operators of Local Government Organizations in Phichit Province
ผู้แต่ง
ผู้แต่งร่วม
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
หน่วยงานที่สังกัด
ระดับปริญญา
ชื่อปริญญา
สาขาวิชา
มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เนื้อเรื่องย่อ/สาระสังเขป
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์กู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมกู้ชีพกู้ภัย และโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 248 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรถพยาบาลและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านทักษะความรู้ในการออกปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและศูนย์สั่งการ ด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และด้านการสนับสนุนและขวัญกำลังใจ ตามลำดับ
2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม 3) ยังขาดการจัดสรรงบประมาณที่จะส่งผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นฐาน 3) การลาออกเนื่องจากค่าตอบแทนไม่พอกับการดำรงชีพ 4) ผู้สมัครเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติยังไม่ผ่านการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน
3. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) จัดทำปฏิทินการจัดอบรมเพื่อแจ้งให้ทุกหน่วยงานทราบ 2) ให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย 3) การนิเทศติดตามศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินทุกแห่งเพื่อหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจให้กับคนทำงาน 4) การถอดบทเรียนการดำเนินงานของการแพทย์ฉุกเฉินในทุกปี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำสู่การแก้ไขให้บุคลากร และ 5) การศึกษาและนำเสนอระเบียบกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาในการหนุนเสริมภารกิจของการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อหาทางออกร่วมกันและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
รายละเอียด
หัวเรื่อง
การอ้างอิง
ผู้ให้ทุน
การอ้างอิง
จิรกฤต ธนกฤตศนนท์. (2567). การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม]. https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/396