แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
dc.title | แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง | |
dc.title.alternative | The Guidelines for Implementing the Participatory Green University Policies of Rajabhat University Group in the Lower Northern Region | |
dc.contributor.author | พนาวัน เปรมศรี | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาเอก | |
dc.thesis.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 395 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.98) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ตัวแปร เรียงลำดับผลต่อการผันแปรจากมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ (X₈ Beta = .320) ด้านเงินหรืองบประมาณ (X₆ Beta = .265) ด้านคนหรือบุคคล (X₅ Beta = .118) และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (X₂ Beta = .084) และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ควรมุ่งพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรมีความพร้อมตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายในทุกขั้นตอนมากขึ้น และปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการปรับทัศคติ และจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้ | |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา--การบริหาร | |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา--สิ่งแวดล้อม | |
dc.keywords | มหาวิทยาลัยสีเขียว | |
dc.keywords | การมีส่วนร่วม | |
dc.keywords | นโยบายสิ่งแวดล้อม | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/387 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1791&obj_id=8906 |