ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2
dc.title | ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2 | |
dc.title.alternative | The effectiveness of good public administration policy implementation of local government organizations in the lower northern region 2 | |
dc.contributor.author | กัลยารัตน์ วุฒิปรัชญานันท์ | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาเอก | |
dc.thesis.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณกับ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือจำนวน 9 คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านนิติธรรมมีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.47 รองลงมาได้แก่ ด้านการตอบสนอง มีค่าเฉลี่ย = 4.45 ด้านประสิทธิภาพ ด้านมุ่งฉันทามติ มีค่าเฉลี่ย = 4.44 ด้านประสิทธิผล ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย = 4.43) ด้านการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย = 4.42 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย = 4.41 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .286, .281, .213 และ .207 ตามลำดับ ได้ค่า Adjusted R Square = .665 หรือ 66.50% ส่วนแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปฏิบัติ พบว่า ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องตระหนักให้ดีเกี่ยวกับการบริหารองค์กรในเรื่องของความคุ้มค่า มีประสิทธิผล | |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น | |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ--ส่วนภูมิภาค | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/386 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1792&obj_id=8907 |