ประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์
dc.title | ประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ | |
dc.title.alternative | Effectiveness of implementing the spatial integration plan into practice of local government organizations in the area of Buriram Province | |
dc.contributor.author | กิตติพล บัวทะลา | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาเอก | |
dc.thesis.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลและแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ใช้แบบสอบถาม จำนวน 230 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหาร ปลัดเทศบาล และนายอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดี ใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล รองลงมาคือด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน และด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนปัจจัยการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือด้านความชัดเจนของแผนบูรณาการ รองลงมาคือด้านสมรรถนะของหน่วยงาน ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านทรัพยากรในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติ โดยปัจจัยด้านความชัดเจน ทรัพยากรการติดต่อสื่อสาร และสมรรถนะของหน่วยงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และมีแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ คือเงื่อนเวลา ปริมาณ คุณภาพสถานที่ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จริง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังโครงการ และความจำเป็นเร่งด่วนนำไปสู่ประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 3 ด้าน คือ 1) ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล 2) ด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน 3) ด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อไป | |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น | |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ--ส่วนภูมิภาค | |
dc.keywords | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |
dc.keywords | แผนบูรณาการเชิงพื้นที่ | |
dc.keywords | ประสิทธิผล | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/392 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1787&obj_id=8902 |