ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ | |
dc.title.alternative | Factors Affecting the Knowledge, Attitude and Behavior in Compliance with Measuresthe Control and Prevention of Coronavirus Disease 2019 in Phrae Province | |
dc.contributor.author | วัชรพล อรุณรัตน์ | |
dc.contributor.advisor | ธนัสถา โรจนตระกูล | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาโท | |
dc.thesis.degreename | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามมีลักษณะแบบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 คำตอบ และประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (x̄), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), t - test และF - test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการป้องกันตนเองของประชาชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และรองลงมา คือ ด้านการดำเนินการในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และด้านการป้องกันสำหรับสถานที่ทำงาน หรือสถานประกอบการ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ รายได้ ระดบการศึกษา และสถานภาพสมรส มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและอายุ ไม่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ สรุปได้ว่า ควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในการรักษาระยะห่าง การสวมีหน้ากากอนามัย การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆและเข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 กรณีที่เดินทางไปสถานที่มีความเสี่ยงรวมทั้งเพิ่มการประชาสมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีทัศนคติที่ตระหนักและทราบถึงสาเหตุ ความรุนแรง และวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค | |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา 2019 | |
dc.subject | โรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุม | |
dc.keywords | ปัจจัยที่มีผล | |
dc.keywords | โควิด-19 | |
dc.keywords | ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/441 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1739&obj_id=8855 |