ประสิทธิผลการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสําหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการ ธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
dc.title | ประสิทธิผลการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสําหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการ ธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก | |
dc.title.alternative | Effectiveness in Public Policy Implementation for Low Income Earners to the Credit of People Bank Project: A Case study of Government Savings Bank, Muang District, Phitsanulok Province | |
dc.contributor.author | ชิดชนก ชัยวัฒน์ตระกูล | |
dc.contributor.advisor | ธนัสถา โรจนตระกูล | |
dc.contributor.advisor | โชติ บดีรัฐ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาโท | |
dc.thesis.degreename | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่สามารถใช้และยื่นสินเชื่อ จำนวน 264 คน จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.881 สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ลูกค้าที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า ควรดำเนินการ คือ 1) การประเมินโครงการก่อนดำเนินการที่ผ่านมาให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค 2) การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เพื่อเป็นการทบทวนแผนของโครงการ 3) การประเมินโครงการหรือการประเมินประสิทธิภาพ การประเมินที่ให้เห็นถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการในเชิงของประสิทธิภาพ และ 4) การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการ เพื่อนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานต่อไป | |
dc.subject | นโยบายสาธารณ | |
dc.subject | สินเชื่อที่อยู่อาศัย | |
dc.keywords | นโยบายสาธารณะ | |
dc.keywords | ผู้มีรายได้น้อย | |
dc.keywords | สินเชื่อธนาคารประชาชน | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/439 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1740&obj_id=8856 |