การบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

dc.titleการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
dc.title.alternativeThe Administrative Management of a Role-Model Community to Driven Processes the Tourism OTOP Nawatvithi : A Case Study of Ban Wang Som Sa, Mueang District, Phitsanulok Province
dc.contributor.authorอนุวัฒน์ ชมภูปัญญา
dc.contributor.advisorธนัสถา โรจนตระกูล
dc.contributor.advisorกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
dc.typeวิทยานิพนธ์/Thesis
dc.thesis.departmentคณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
dc.thesis.levelปริญญาโท
dc.thesis.degreenameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.thesis.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.thesis.grantorมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.date.issued2566
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ปัจจัยและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้ตารางคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.724 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว รองลงมาคือ เส้นทางการเข้าถึงชุมชน ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวด้านการจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน ด้านการจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ปัจจัยการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีผลต่อการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า แนวทางการบริหารจัดการชุมชนสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มี 6 ข้อ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) การจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน 3) การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว 4) ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) เส้นทางการเข้าถึงชุมชน และ6) การจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
dc.subjectการจัดการผลิตภัณฑ์
dc.subjectชุมชน
dc.keywordsการบริหารจัดการชุมชน
dc.keywordsการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
dc.keywordsชุมชนบ้านวังส้มซ่า
dc.identifier.urihttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/443
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
dc.language.isotha
dc.relation.urihttp://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1737&obj_id=8853

ไฟล์ข้อมูล

กลุ่มข้อมูล