รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
dc.title | รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ | |
dc.title.alternative | A Model of Servant Leadership Development for Local Development of Student Leaders at Rajabhat Universities | |
dc.contributor.author | รุ่งโรจน์ ฝ้ายเยื่อ | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาเอก | |
dc.thesis.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3.เพื่อประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 620 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ตามแนวคิดของ Robert K.Greenleaf วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย Chi-Square = 2239.213, df= 727, p-value=0.000, CFI=0.971, TLI=0.969, RMSEA=0.058 และ WRMR= 1.440 2.รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อมเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม แบ่งเป็น 4 หน่วยเรียนรู้ คือ 1)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, 2)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าใจ”, 3)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าถึง”,และ 4)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “พัฒนา” 3. ผลการประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระดับคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63) และระดับคุณภาพความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55) | |
dc.subject | ภาวะผู้นำทางการศึกษา | |
dc.subject | กิจการนักศึกษา | |
dc.subject | การศึกษากับการพัฒนาประเทศ | |
dc.keywords | ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ | |
dc.keywords | การพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.keywords | ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/426 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1753&obj_id=8869 |