การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมผดุงราษฎร์ศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4

dc.titleการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมผดุงราษฎร์ศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4
dc.title.alternativeThe Development of Additional Course of Padoongrasdra Suksa on Social Studies Religion and Culture Strand for 4th Grade Students
dc.contributor.authorพรทิพา สิทธิวงค์
dc.contributor.advisorอารีย์ ปริติกุล
dc.typeวิทยานิพนธ์/Thesis
dc.thesis.departmentคณะครุศาสตร์
dc.thesis.levelปริญญาโท
dc.thesis.degreenameครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.thesis.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.thesis.grantorมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.date.issued2565
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมผดุงราษฎร์ศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้ หลักสูตรผดุงราษฎร์ศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรผดุงราษฎร์ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนผดุงราษฎร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมผดุงราษฎร์ศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ใช้เวลาในการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน คือ One Sample t – test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ผดุงราษฎร์ศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีองค์ประกอบของหลักสูตร คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยโรงเรียนผดุงราษฎร์ หน่วยพระเยซูคริสต์ หน่วยวิถีผดุงราษฎร์ หน่วยม่วงเหลือง ร่วมใจ และหน่วยมารยาทงาม สมนามผดุงราษฎร์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก คู่มือการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับดี แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรผดุงราษฎร์ศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
dc.subjectการศึกษา--หลักสูตร
dc.subjectสังคม--การศึกษาและการสอน(ประถมศึกษา)
dc.keywordsหลักสูตรผดุงราษฎร์ศึกษา
dc.keywordsสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
dc.keywordsนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
dc.identifier.urihttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/475
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
dc.language.isotha
dc.relation.urihttp://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1705&obj_id=8830

ไฟล์ข้อมูล

กลุ่มข้อมูล