การพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
dc.title | การพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง | |
dc.title.alternative | Development of Result-Based Management Guidance Model in Rajabhat | |
dc.contributor.author | สิริลักษณ์ วงศ์ประสิทธิ์ | |
dc.contributor.advisor | ภาสกร ดอกจันทร์ | |
dc.contributor.advisor | กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/Thesis | |
dc.thesis.department | คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น | |
dc.thesis.level | ปริญญาเอก | |
dc.thesis.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.thesis.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.thesis.grantor | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.description.abstract | การวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนว แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวในสถานศึกษาตามแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สังเคราะห์องค์ประกอบจากศึกษาเอกสาร ตํารา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จำนวน 5 คน โดยใช้สูตรการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence Index: IOC) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยการนำองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระยะที่ 1 มาพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการ แนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion: FGD) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ด้านนโยบายงานด้านการแนะแนว 2. ด้านการจัดบริการแนะแนวและให้คำปรึกษา 3. ด้านการวางแผนงานด้านการแนะแนว 4. ด้านโครงสร้างบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5. ด้านระบบบริหารงานด้านการแนะแนว 6. ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานแนะแนวแบบมุ่งสัมฤทธิ์ ผลตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสม ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ทุกองค์ประกอบ | |
dc.subject | การแนะแนวการศึกษา | |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา--การบริหาร | |
dc.keywords | การแนะแนว | |
dc.keywords | มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง | |
dc.keywords | การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ | |
dc.identifier.uri | https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/503 | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | |
dc.language.iso | tha | |
dc.relation.uri | http://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1780&obj_id=8896 |