คณะครุศาสตร์
Permanent URI for this communityhttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/131
ค้นหา
67 ผลลัพธ์
ผลการค้นหา
รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การพัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) น้อย คันชั่งทอง; สุขแก้ว คำสอน; บุญส่ง กวยเงินการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา 3) ทดลองใช้แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา และ 4) ประเมินผลประสิทธิภาพของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือวิจัยคือ ประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยระยะที่ 3 การทดลองใช้แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม และแบบสอบถามความตระหนักรู้ต่อการไม่ลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test การวิจัยระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษารับรู้ว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สาเหตุการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษากลิจจากภายในตัวบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ต้องการได้เกรด/คะแนนที่ดี และขอบความสะดวกสบาย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การป้องกัน องค์ประกอบที่ 2 การตระหนักรู้ และองค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุน ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายตัวแปรปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมได้ร้อยละ 70.14, 2) แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การป้องกัน กลยุทธ์ที่ 2 การให้ความตระหนักรู้ และกลยุทธ์ที่ 3 การสนับสนุน 3) นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมมีความรู้ความใจเรื่องการออกเสียนวรรณกรรมทั้งโดยภาพรวมและรายด้านสูงกว่ามักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสĞำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมมีความตระหนักรู้ต่อการไม่ออกเสียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) แนวทางการป้องกันการลอกเสียนวรรณกรรมของนักศึกษามีประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตพุทธชินราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) สุดารัตน์ แสงผึ้ง; นิคม นาคอ้ายการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสหวิทยาเขตพุทธชินราช จำนวน 266 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูจำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบการตอบสนองคู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ในการบริหารงานงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุด คือ ด้านการบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณ สถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช จากการสัมภาษณ์ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันสูงสุด คือ (1) ด้านการวางแผนงบประมาณ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการตรวจสอบการใช้งบประมาณเป็นระยะตามแผนการปฏิบัติงาน (2) ด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผนการใช้งบประมาณ รายจ่าย ต้นทุนตามประเภทของงบประมาณ เพื่อ ป้องกันการใช้งบประมาณแบบไม่คุ้มค่า (3) ด้านการจัดระบบการจัดหา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการประมาณการ เปรียบเทียบราคา ต้นทุน เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดจ้าง (4) ด้านการบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณ ผู้บริหารสถานศึกษาควรวิเคราะห์ SWOT เพื่อวางแผนการใช้งบประมาณและดูขีดจำกัดของสถานศึกษา (5) ด้านการรายงานการเงินและผลการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหา จัดทำฐานข้อมูลของปัญหา (6) ด้านการบริหารสินทรัพย์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารสินทรัพย์นั้น (7) ด้านการตรวจสอบภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน และรายงานผลการดำเนินงาน และรายงายผลตามระยะเวลาที่กำหนดรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พนัส นาคบุญ; อนุชา ภูมิสิทธิพร; สุขแก้ว คำสอนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบ ทดลองและศึกษาผลการใช้ และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี โดยใช้ทฤษฎีคอนตรัคชั่นนิสซึม เพื่อเสริมสร้างความคิด สร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนโสตศึกษา 11 โรงเรียน จำนวน 99 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทดลองและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.72, SD = 0.56) และมีสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, SD = 0.36) ซึ่งสรุปว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ โดยครูในโรงเรียนโสตศึกษามีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง และ มีความคาดหวังต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น 2.คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.75, SD = 0.26) และคุณภาพของคู่มือครูประกอบการใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.66, SD = 0.37) 3.ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ก่อนการทดลอง และ หลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเทคโนโลยี โดยใช้ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74, SD = 0.31)รายการ เมทาเดทาเท่านั้น รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครู : ศึกษากรณีนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ภาวิณี เดชเทศ; พัชราวลัย มีทรัพย์; ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ การใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบและระยะที่ 2 การทดลองใช้ รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพ ของรูปแบบอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอรรถประโยชน์ 2) ด้านความเป็นไปได้ 3) ด้านความเหมาะสม และ 4) ด้านความถูกต้อง ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( x̄ = 4.31 , S.D = .193) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ตามองค์ประกอบของสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอน ในด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยหลังการอบรมอยู่ที่ =14.05 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ 0.05 ในด้านทักษะ ในขั้นการทดลองสอน ในภาพรวมในทุก ๆ องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.10 และการประเมินในขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ในภาพรวมในทุก ๆ องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ = 1.83 การประเมินสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอน ในขั้นตอนการนิเทศติดตาม จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 การนิเทศการสอนโดยประเมินจากคลิปวิดีโอการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.04 ครั้งที่ 2 เป็นการนิเทศการสอนที่สถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.33 ในด้านคุณลักษณะ การวัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ก่อนการอบรมและหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม ในทุกองค์ประกอบและการศึกษาผลการทบทวนหลังการปฏิบัติการ (AAR) ในทุกขั้นตอนของการใช รูปแบบทั้งหมด 4 ครั้งรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) นิรวิทธ์ ขาวหนู; นงลักษณ์ ใจฉลาดการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตบางมูลนาก ประชากร คือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตบางมูลนาก จำนวน 246 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสหวิทยาเขตบางมูลนาก จำนวน 152 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนากโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีความคิดความเข้าใจระดับสูง 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตบางมูลนาก ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) กานดา กันฉิม; นิคม นาคอ้ายการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตพุทธชินราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 266 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครู 154 คน รวมจำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบการตอบสนองคู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท และมีประสบการณ์ในการบริหารการศึกษาหรือสถานศึกษา จำนวน 7 ท่าน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ .12 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงสุดเป็นลำดับแรก 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพุทธชินราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันสูงสุด คือ (1) ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้เทคโนโลยี การนำเสนอ และกระบวนการคิด (2) ด้านทักษะการสื่อสารเพื่อการร่วมมือทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ (3) ด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ปัญหา ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล ภายใต้ข้อมูลสารสนเทศ ประกอบการตัดสินใจ และสร้างทางเลือกวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบันรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565) สันติภาพ ปรากฎวงศ์; อดุลย์ วังศรีคูณการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 127 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 97 แห่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครู รวมทั้งสิ้น 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติมาก 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้ 1) ภาพรวม ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมการอบรม สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ 2) ด้านความคิดความเข้าใจในระดับสูง ควรอบรมผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่ายเกี่ยวกับสารสนเทศที่จำเป็น 3) ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ ควรมีการวางแผนบริหารจัดการและจัดลำดับความสำคัญของการทำงานโดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดในปีที่ผ่านมา 4) ด้านความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ควรเป็นนักวางแผนปรับและประยุกต์วิเคราะห์ กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้แก่องค์กรและนำเอากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย 5) ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ ควรมีการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นบูรณาการและสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ควรประชุมรับฟัง ความคิดเห็นของคณะครูเปิดโอกาสและขอความคิดเห็นยอมรับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษารายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสหวิทยาเขตพรานลานไทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากำแพงเพชร(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) วาฤทัย ภูรินิรันดร์; จารุวรรณ นาตันการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพรานลานไทร 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพรานลานไทร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพรานลานไทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูสหวิทยาเขตพรานลานไทร รวมทั้งสิ้น 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษางานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตพรานลานไทร พบว่า งานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตพรานลานไทร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2. การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสหวิทยาเขตพรานลานไทร พบว่า ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสหวิทยาเขตพรานลานไทร ในภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 3. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตพรานลานไทร พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565) สุภาวดี ทองเทศ; บัญชา สำรวยรื่นการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของแอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแอปพลิเคชันบทเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 12 คน ที่อยู่ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันบทเรียน เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่สร้างขึ้นตามแนวทาง ADDIE model และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบอกค่าตัวเลขและจำนวน ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบตรวจสอบคุณภาพแอปพลิเคชันบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t แบบไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีประสิทธิผล ของแอปพลิเคชันบทเรียนมีค่าเท่ากับ 0.82 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (EI มากกว่า 0.5) และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.58 คะแนน และ 26.83 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.61 และ 1.75 ตามลำดับ โดยผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) นาราภัทร แซ่หว้า; ณิรดา เวชญาลักษณ์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 113 แห่ง จากตารางของเครจซี่และมอร์แกน นำมาเทียบสัดส่วนกำหนดผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารยุคดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัล การส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมทักษะการคิดเชื่อมโยง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การส่งเสริมทักษะการร่วมมือ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการสื่อสารยุคดิจิทัลมีความสัมพันธ์สูงสุดกับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในทุกด้าน