คณะครุศาสตร์

Permanent URI for this communityhttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/131

ค้นหา

ผลการค้นหา

กำลังแสดง1 - 7 of 7
  • รายการการเข้าถึงแบบเปิด
    การวิเคราะห์องค์ประกอบประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2557) ภาสินี ปัญญาประชุม; ชนมัชกรณ์ วรอินทร์; ชุมพล เสมาชันธ์
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก จำนวน 440 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดตัวแปรมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 146 ข้อ แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม LISREL 8.53 ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการศึกษาประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก ด้านคุณภาพการสอนของครู ด้านลักษณะความเป็นครูภาษาอังกฤษ และด้านสนับสนุนการสอนของครูภาษาอังกฤษ องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านมีประสิทธิภาพการสอนอยู่ในระดับมาก 2)ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก ค่า Chi-Square มีค่าเท่ากับ 80.08 (P = 0.085) ค่า df มีค่าเท่ากับ 64 χ2/df มีค่าเท่ากับ 1.251 ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.024 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ 0.98 ค่า AGFI มีค่าเท่ากับ 0.94 ค่า SRMR มีค่าเท่ากับ 0.019 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพการสอนของครู ด้านลักษณะความเป็นครูภาษาอังกฤษ และด้านสนับสนุนการสอนของครูภาษาอังกฤษ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.98, 0.91, และ 0.90
  • รายการการเข้าถึงแบบเปิด
    การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2556) ยุวธิดา บุบผาวรรณ; ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ; กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 751 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัว ได้แก่ 1)บรรยากาศในห้องเรียนคณิตศาสตร์ 2) พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 3)การสนับสนุนการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้ปกครอง 4)เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ 5)การเข้าร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์ของนักเรียนและ 6)ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL 8.54 ในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีค่าเฉลี่ยในการรวมอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ตัวแปรสังเกตได้ด้านความคิดคล่องแคล่วทางคณิตศาสตร์ ด้านความคิดยืดหยุ่นทางคณิตศาสตร์ และด้านความคิดริเริ่มทางคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2)โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าสถิติไค-สแควร์(χ²)= 98.72 (p=0.23) df= 89, GFI=.99, AGFI=.97, RMR=.03 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 66 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียนคณิตศาสตร์ มีอิทธิพลอ้อมผ่านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ของครูและการสนับสนุนการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้ปกครอง
  • รายการ
    การพัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) น้อย คันชั่งทอง; สุขแก้ว คำสอน; บุญส่ง กวยเงิน
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา 3) ทดลองใช้แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา และ 4) ประเมินผลประสิทธิภาพของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตภาคเหนือ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือวิจัยคือ ประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยระยะที่ 3 การทดลองใช้แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรม และแบบสอบถามความตระหนักรู้ต่อการไม่ลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test การวิจัยระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพของแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษารับรู้ว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สาเหตุการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษากลิจจากภายในตัวบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ต้องการได้เกรด/คะแนนที่ดี และขอบความสะดวกสบาย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การป้องกัน องค์ประกอบที่ 2 การตระหนักรู้ และองค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุน ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายตัวแปรปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมได้ร้อยละ 70.14, 2) แนวทางการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษามี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การป้องกัน กลยุทธ์ที่ 2 การให้ความตระหนักรู้ และกลยุทธ์ที่ 3 การสนับสนุน 3) นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมมีความรู้ความใจเรื่องการออกเสียนวรรณกรรมทั้งโดยภาพรวมและรายด้านสูงกว่ามักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสĞำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมมีความตระหนักรู้ต่อการไม่ออกเสียนวรรณกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) แนวทางการป้องกันการลอกเสียนวรรณกรรมของนักศึกษามีประสิทธิภาพด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
  • รายการ
    รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครู : ศึกษากรณีนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ภาวิณี เดชเทศ; พัชราวลัย มีทรัพย์; ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ การใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบและระยะที่ 2 การทดลองใช้ รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนสำหรับนักศึกษาครูที่สอนวิชาอื่น ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพ ของรูปแบบอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอรรถประโยชน์ 2) ด้านความเป็นไปได้ 3) ด้านความเหมาะสม และ 4) ด้านความถูกต้อง ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( x̄ = 4.31 , S.D = .193) 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ตามองค์ประกอบของสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอน ในด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยหลังการอบรมอยู่ที่ =14.05 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ 0.05 ในด้านทักษะ ในขั้นการทดลองสอน ในภาพรวมในทุก ๆ องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.10 และการประเมินในขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ในภาพรวมในทุก ๆ องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ = 1.83 การประเมินสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสอน ในขั้นตอนการนิเทศติดตาม จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 การนิเทศการสอนโดยประเมินจากคลิปวิดีโอการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.04 ครั้งที่ 2 เป็นการนิเทศการสอนที่สถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 2.33 ในด้านคุณลักษณะ การวัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ก่อนการอบรมและหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม ในทุกองค์ประกอบและการศึกษาผลการทบทวนหลังการปฏิบัติการ (AAR) ในทุกขั้นตอนของการใช รูปแบบทั้งหมด 4 ครั้ง
  • รายการ
    การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อณันริกา เนียมแก้ว; บุญส่ง กวยเงิน
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโมทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวน 2,294 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan โดยประมาณค่าสัดส่วนของประชากรและกำหนดให้สัดส่วนและระดับความเชื่อมั่น 95% จะได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 331 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบชนิดอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์มากที่สุดคือด้านการใช้ทฤษฎี สูตร กฎ บทนิยาม และสมบัติ รองลงมาคือด้านตีความจากโจทย์ รองลงมาคือด้านการตรวจสอบการแก้ปัญหาและประเภทของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์น้อยที่สุดคือด้านการคิดคำนวณ
  • รายการ
    ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565) วนัสนันท์ เกษประสิทธิ์; พัชราวลัย มีทรัพย์
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) สร้างโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVESMODELเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนไกรในวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ใช้สถิติทดสอบที (Pair-Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบCREATIVES MODEL มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การฝึกปฏิบัติเขียนและการวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้ การนำไปใช้จัดการเรียนรู้ และการจัดนิทรรศการ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลจากผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาศักยภาพครูเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการอบรมและหลังการอบรม พบว่า ความรู้ความเข้าใจของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และแผนการจัดการเรียนรู้ มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/ครอบคลุม/เหมาะสม มากที่สุด และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากครูผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • รายการ
    พัฒนาการอ่านคำและสะกดคำภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565) อัญชลี วงษ์กัณหา; อนุ เจริญวงศ์ระยับ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งในรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งในรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 4) ศึกษาความคิดเห็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งในรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) จำนวน 197 คน ขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) โรงเรียนบ้านโพธิ์พัฒนาและโรงเรียนบ้านหนองแดน จำนวน 2 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการแปลผล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) พบว่า ด้านการเตรียมการสอน ด้านดำเนินการสอน ด้านการผลิตสื่อการสอน และด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหา องค์ประกอบที่ 4 กิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างเครือข่ายสมาชิก (Create a Network of Members) ขั้นที่ 2 สร้างการเรียนรู้ (Create Learning) ขั้นที่ 3 สร้างผลงาน (Create Work)ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchange of Knowledge) ขั้นที่ 5 การประเมินผลงาน (Evaluation) และ องค์ประกอบที่ 5 การวัดและประเมินผล 3. หลังจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินชิ้นงานของนักเรียนมีระดับคุณภาพที่ดีขึ้น 4. ความคิดเห็นของครูในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก