เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "ยุวดี พ่วงรอด"
กำลังแสดง1 - 3 of 3
- Results Per Page
- ตัวเลือกการเรียงลำดับ
รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2562) โชติ บดีรัฐ; สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ; ยุวดี พ่วงรอด; นันทพันธ์ คดคงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสำรวจรูปแบบการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม และ 4) เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมของอำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของ "Taro Yamane" ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และที่ระดับความคลาดเคลื่อน ± 5 % ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือ 400 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 คน 2) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 คน 3) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 19 คน รวมถึงกลุ่มตัวอย่างจากการสนทนากลุม จำนวน 38 คน และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.รูปแบบการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า อารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม จะต้องประกอบไปด้วย สถานที่ สิ่งของ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเราให้รองรับการใช้งานของมวลสมาชิกในสังคม โดยที่ไม่ต้องออกแบบหรือจัดทำขึ้นสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าพวกเขานั้น จะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย วัยเด็กหรือวัยชรา ใช้ขาเดินหรือใช้รถเข็น การออกแบบดังกล่าวจะเน้นประโยชน์สูงสุดของคนในสังคมร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น การทำทางลาดขึ้นลง ทางเท้า และอาคารสถานที่ต่างๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือบล็อกทางเดินสำหรับคนตาบอด เพื่อให้พวกเขานั้น ใช้ชีวิต นอกบ้านได้อย่างสะดวก และปลอดภัย 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเข้าใจ ข้อมูลชัดเจน และรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก ด้านมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ ด้านความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์ ด้านเบาแรงช่วยทุนแรงกาย ด้านมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง และด้านความปลอดภัย มีระบบป้องกันอันตราย 3.แนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า ด้านความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์ และด้านพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง ควรมีการจัดสรรโดยไม่เลือกปฏิบัติ จะต้องมีการจัดทำขึ้นเพื่อคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกอาชีพ จะยากดีมีจน หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก ด้านการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยว นอกจากนี้ยังมีประชาชนที่หลากหลายกลุ่ม หลายระดับ หลายเพศ หลายวัย เข้ามานมัสการพระพุทธชินราช มาเที่ยวชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซื้อของฝาก รวมถึง ด้านความเข้าใจ ข้อมูลชัดเจน ควรจัดทำขึ้นให้มีการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ข้อมูลชัดเจนทั้งด้านภาษา ด้านรูปภาพ ด้านสัญลักษณ์ และการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม และสามารถรองรับคนจำนวนมากได้ ด้านความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ ด้านเบาแรงช่วยทุนแรงกาย โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่สำคัญคือ ด้านความปลอดภัย ต้องมีระบบป้องกันอันตราย ซึ่งด้านนี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่จะสร้างความสบายใจ ความน่าประทับ และความไว้วางใจ เพราะคำว่าอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม จะต้องตระหนักถึงความปลอดภัย มีระบบป้องกันอันตรายที่มาเป็นอันดับต้นๆ ทั้งด้านการออกแบบ การก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน และสามารถรองรับทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจได้ ด้านพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง พบว่า ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก 4.การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมของอำเภอเมืองพิษณุโลก พบว่า สถานที่ที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมมากที่สุด และประชาชนเข้าใช้บริการอารยสถาปัตย์ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื่องด้วยถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก จึงทำให้มีการออกแบบและรองรับด้านอารยสถาปัตย์ได้มาตรฐาน สามารถรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยวได้รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ยุวดี พ่วงรอด; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอรัญญิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน โดยผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นคณะกรรมการและสมาชิกองกองทุนสวัสดิการชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค การเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง หัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ในการกระตุ้น ส่งเสริม ให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในทุกกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จากผลการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม พบว่า บทบาทเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริม สนับสนุนกลไกการทำงาน ด้านทรัพยากร มีรูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงล้อหรือดาว ส่วนเครือข่ายทางสังคมที่เป็นดาวเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลเมืองอรัญญิก) เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นศูนย์กลาง และมีความแข็งแรง คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นตัวกลาง คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มีค่าความหนาแน่น = 0.5 3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จะต้องมุ่งเน้นให้ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนฯ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ และทำความเข้าใจในบทบาทของตนเองอย่างครอบคลุมและรอบด้านรายการ เมทาเดทาเท่านั้น รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์ กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2562) โชติ บดีรัฐ; สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ; ยุวดี พ่วงรอด; รสสุคนธ์ ประดิษฐ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากชนิดของตัวบ่งชี้ชีวภาพและลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน 2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาการจัดทำแผนแม่บทชุมชนต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากตารางของ Krejci&Morgan ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คน และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากนั้นเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่ม (45 คน) และนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความหลากชนิดของตัวบ่งชี้ชีวภาพและลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศบริเวณประปาภูเขาในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน พบว่า 1.1 พืชที่พบมากที่สุดต่อแปลง คือ กลุ่มแอนโทไฟตา (พืชดอก) ได้แก่ Globba sp. (11 แปลง) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae รองลงมา คือ Memecylon sp. (10 แปลง ) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Melastomataceae และ Iguanura sp. (3 แปลง) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Arecaceae ตามล้าดับ พบพืชกลุ่มไบรโอไฟตา (พืชไม่มีท่อลำเลียง) จ้านวน 5 วงศ์ 5 สกุล 5 ชนิด และพบพืชกลุ่มเทอโรไฟตา (เฟิร์น) จำนวน 2 ชนิด ซึ่งอยู่ในวงศ์ Grammitidaceae และไม่สามารถระบุชนิดพืชได้จำนวน 19 ชนิด 1.2 ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Acaulosporaceae สกุล Acaulospora (20 ชนิด) ชนิดเด่นคือ AMFKM1 (Acaulospora sp.) มี 38 สปอร์ต่อดิน 100 กรัม รองลงมาอยู่ในวงศ์ Glomeraceae สกุล Glomus (4 ชนิด) และวงศ์ Gigaspoaceae สกุล Gigaspora (3 ชนิด) ตามลำดับ 1.3 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 20 สกุล 31 ชนิด แพลงก์ตอนพืชที่พบมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ Fragilaria sp. (6 ชนิด) รองลงมาคือ Surirella sp. (4 ชนิด) และ Eunotia sp. (3 ชนิด) ประเมินคุณภาพน้ำด้วยแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นตามวิธี AARL – PC Score พบน้ำมีคุณภาพปานกลางถึงไม่ดี สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพ ดังนั้นแพลงก์ตอนพืชเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำได้ 1.4 ดินส่วนใหญ่ร่วนและมีการระบายน้้าดี อุณหภูมิดินปานกลาง (29-31 °C) ค่ากรด-ด่าง ค่อนข้างต่ำ (3.4-4.7) ค่าการนำไฟฟ้า (441.7-859.3 µS/cm) กับค่าเกลือ (209.7-415.3 ml/L) มีอินทรียวัตถุในดินสูง (3.6-10.3%) มีธาตุไนโตรเจนสูง (3.42%) ธาตุฟอสฟอรัสต่ำ (0.35%) และธาตุโพแทสเซียมสูง (95.8 mg/Kg) ดินโดยรวมมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลาง 1.5 ค่าดัชนีความหลากหลายของพืช ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาและแพลงก์ตอนพืช คำนวณจาก Shannon-Wiener index อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย คือ 1.32, 1.10 และ 2.37 ตามลำดับ และ Simpson index แสดงความเด่นของชนิดน้อย คือ 0.67, 0.78 และ 0.87 ตามลำดับ 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึนถูกศึกษาความจำเป็นทางกายภาพ 4 ด้าน (ด้านอาหาร ด้านที่อยู่อาศัย ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยารักษาโรค) และด้านอื่น ๆ (อาทิ ภูมิปัญญากับความเชื่อความศรัทธา) พบว่ามีความหลากหลายมาก เช่น มีพิธีกรรมความเชื่อด้านการท้าบายศรีสู่ขวัญ เสริมดวง ต่อชะตา สะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมบูชาพระแม่โพสพ ความเชื่อศาลปู่ศาลย่า บูชาบรรพบุรุษ มีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อใช้รักษาโรค เป็นต้น 3. การจัดท้าแผนแม่บทชุมชนต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมถูกศึกษาและพบว่าการเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนและเผยให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดที่นำมาสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน โครงการและกิจกรรม มีการยกแผนแม่บทฉบับร่างจากการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแนวทางการด้าเนินงานโดยเลือกตั้งคณะทำงาน (หมู่บ้านละ 2 คน) และเชิญผู้อาวุโสของตำบลเป็นที่ปรึกษา จากนั้นได้นำแผนแม่บทชุมชนฉบับร่างเข้าสภาตำบล เพื่อพิจารณาให้ถูกต้องสมบรูณ์ พร้อมได้กำหนดผู้รับผิดชอบตามยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 2) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน และ 3) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ทุกโครงการและกิจกรรมถูกเรียงลำดับตามความสำคัญ หลังจากนั้นจึงบรรจุในแผนพัฒนาตำบลของเทศบาลตำบลเนินเพิ่ม 4. การศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึนถูกสำรวจและพบว่าประชาชนต้องการให้เกิดแบบจำลองขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ที่มีแสงและสีสมจริง