รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์ กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ชื่อเรื่อง

รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์ กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อเรื่องอื่น

Learning center model of ecosystem diversity and local wisdom associated with lifestyle of local people in Kha-Muen watershed area at Phu-Hin-Rong-Kla National Park, Nakorn Thai District, Phitsanulok Province

ผู้แต่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ปีที่เผยแพร่

2562

Journal Title

Journal ISSN

Volume Title

ประเภทของทรัพยากร

วิจัย/Research

ชนิดของไฟล์ข้อมูล

ภาษา

หน่วยงานที่เผยแพร่

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้ครอบครองสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

สิทธิ์ในการใช้งาน

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

กลุ่มข้อมูล

ชื่อเรื่อง

รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์ กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อเรื่องอื่น

Learning center model of ecosystem diversity and local wisdom associated with lifestyle of local people in Kha-Muen watershed area at Phu-Hin-Rong-Kla National Park, Nakorn Thai District, Phitsanulok Province

ผู้แต่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญา

เนื้อเรื่องย่อ/สาระสังเขป

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากชนิดของตัวบ่งชี้ชีวภาพและลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน 2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาการจัดทำแผนแม่บทชุมชนต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากตารางของ Krejci&Morgan ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คน และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากนั้นเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่ม (45 คน) และนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความหลากชนิดของตัวบ่งชี้ชีวภาพและลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศบริเวณประปาภูเขาในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน พบว่า 1.1 พืชที่พบมากที่สุดต่อแปลง คือ กลุ่มแอนโทไฟตา (พืชดอก) ได้แก่ Globba sp. (11 แปลง) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae รองลงมา คือ Memecylon sp. (10 แปลง ) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Melastomataceae และ Iguanura sp. (3 แปลง) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Arecaceae ตามล้าดับ พบพืชกลุ่มไบรโอไฟตา (พืชไม่มีท่อลำเลียง) จ้านวน 5 วงศ์ 5 สกุล 5 ชนิด และพบพืชกลุ่มเทอโรไฟตา (เฟิร์น) จำนวน 2 ชนิด ซึ่งอยู่ในวงศ์ Grammitidaceae และไม่สามารถระบุชนิดพืชได้จำนวน 19 ชนิด 1.2 ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Acaulosporaceae สกุล Acaulospora (20 ชนิด) ชนิดเด่นคือ AMFKM1 (Acaulospora sp.) มี 38 สปอร์ต่อดิน 100 กรัม รองลงมาอยู่ในวงศ์ Glomeraceae สกุล Glomus (4 ชนิด) และวงศ์ Gigaspoaceae สกุล Gigaspora (3 ชนิด) ตามลำดับ 1.3 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 20 สกุล 31 ชนิด แพลงก์ตอนพืชที่พบมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ Fragilaria sp. (6 ชนิด) รองลงมาคือ Surirella sp. (4 ชนิด) และ Eunotia sp. (3 ชนิด) ประเมินคุณภาพน้ำด้วยแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นตามวิธี AARL – PC Score พบน้ำมีคุณภาพปานกลางถึงไม่ดี สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพ ดังนั้นแพลงก์ตอนพืชเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำได้ 1.4 ดินส่วนใหญ่ร่วนและมีการระบายน้้าดี อุณหภูมิดินปานกลาง (29-31 °C) ค่ากรด-ด่าง ค่อนข้างต่ำ (3.4-4.7) ค่าการนำไฟฟ้า (441.7-859.3 µS/cm) กับค่าเกลือ (209.7-415.3 ml/L) มีอินทรียวัตถุในดินสูง (3.6-10.3%) มีธาตุไนโตรเจนสูง (3.42%) ธาตุฟอสฟอรัสต่ำ (0.35%) และธาตุโพแทสเซียมสูง (95.8 mg/Kg) ดินโดยรวมมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลาง 1.5 ค่าดัชนีความหลากหลายของพืช ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาและแพลงก์ตอนพืช คำนวณจาก Shannon-Wiener index อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย คือ 1.32, 1.10 และ 2.37 ตามลำดับ และ Simpson index แสดงความเด่นของชนิดน้อย คือ 0.67, 0.78 และ 0.87 ตามลำดับ 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึนถูกศึกษาความจำเป็นทางกายภาพ 4 ด้าน (ด้านอาหาร ด้านที่อยู่อาศัย ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยารักษาโรค) และด้านอื่น ๆ (อาทิ ภูมิปัญญากับความเชื่อความศรัทธา) พบว่ามีความหลากหลายมาก เช่น มีพิธีกรรมความเชื่อด้านการท้าบายศรีสู่ขวัญ เสริมดวง ต่อชะตา สะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมบูชาพระแม่โพสพ ความเชื่อศาลปู่ศาลย่า บูชาบรรพบุรุษ มีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อใช้รักษาโรค เป็นต้น 3. การจัดท้าแผนแม่บทชุมชนต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมถูกศึกษาและพบว่าการเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนและเผยให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดที่นำมาสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน โครงการและกิจกรรม มีการยกแผนแม่บทฉบับร่างจากการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแนวทางการด้าเนินงานโดยเลือกตั้งคณะทำงาน (หมู่บ้านละ 2 คน) และเชิญผู้อาวุโสของตำบลเป็นที่ปรึกษา จากนั้นได้นำแผนแม่บทชุมชนฉบับร่างเข้าสภาตำบล เพื่อพิจารณาให้ถูกต้องสมบรูณ์ พร้อมได้กำหนดผู้รับผิดชอบตามยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 2) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน และ 3) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ทุกโครงการและกิจกรรมถูกเรียงลำดับตามความสำคัญ หลังจากนั้นจึงบรรจุในแผนพัฒนาตำบลของเทศบาลตำบลเนินเพิ่ม 4. การศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึนถูกสำรวจและพบว่าประชาชนต้องการให้เกิดแบบจำลองขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ที่มีแสงและสีสมจริง

รายละเอียด

การอ้างอิง

ผู้ให้ทุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การอ้างอิง

โชติ บดีรัฐ, สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ, ยุวดี พ่วงรอด, และ รสสุคนธ์ ประดิษฐ์. (2562). รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางระบบนิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์ กับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นพื้นที่ป่าต้นน้ำขมึน เขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/501

Endorsement

Review

Supplemented By

Referenced By