การพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ชื่อเรื่อง

การพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว

ชื่อเรื่องอื่น

The development of the Universal Design appropriate civilization model in MuangPhitsanulok. To support economic growth, Society and Tourism

ผู้แต่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ไม่มีรูปตัวอย่าง

ปีที่เผยแพร่

2562

Journal Title

Journal ISSN

Volume Title

ประเภทของทรัพยากร

วิจัย/Research

ชนิดของไฟล์ข้อมูล

ภาษา

หน่วยงานที่เผยแพร่

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้ครอบครองสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

สิทธิ์ในการใช้งาน

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

กลุ่มข้อมูล

ชื่อเรื่อง

การพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว

ชื่อเรื่องอื่น

The development of the Universal Design appropriate civilization model in MuangPhitsanulok. To support economic growth, Society and Tourism

ผู้แต่ง

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยที่ประสาทปริญญา

เนื้อเรื่องย่อ/สาระสังเขป

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสำรวจรูปแบบการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม และ 4) เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมของอำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว เก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของ "Taro Yamane" ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และที่ระดับความคลาดเคลื่อน ± 5 % ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือ 400 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 คน 2) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 คน 3) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 19 คน รวมถึงกลุ่มตัวอย่างจากการสนทนากลุม จำนวน 38 คน และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.รูปแบบการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า อารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม จะต้องประกอบไปด้วย สถานที่ สิ่งของ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเราให้รองรับการใช้งานของมวลสมาชิกในสังคม โดยที่ไม่ต้องออกแบบหรือจัดทำขึ้นสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าพวกเขานั้น จะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย วัยเด็กหรือวัยชรา ใช้ขาเดินหรือใช้รถเข็น การออกแบบดังกล่าวจะเน้นประโยชน์สูงสุดของคนในสังคมร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น การทำทางลาดขึ้นลง ทางเท้า และอาคารสถานที่ต่างๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือบล็อกทางเดินสำหรับคนตาบอด เพื่อให้พวกเขานั้น ใช้ชีวิต นอกบ้านได้อย่างสะดวก และปลอดภัย 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเข้าใจ ข้อมูลชัดเจน และรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก ด้านมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ ด้านความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์ ด้านเบาแรงช่วยทุนแรงกาย ด้านมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง และด้านความปลอดภัย มีระบบป้องกันอันตราย 3.แนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม พบว่า ด้านความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์ และด้านพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง ควรมีการจัดสรรโดยไม่เลือกปฏิบัติ จะต้องมีการจัดทำขึ้นเพื่อคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกอาชีพ จะยากดีมีจน หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก ด้านการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยว นอกจากนี้ยังมีประชาชนที่หลากหลายกลุ่ม หลายระดับ หลายเพศ หลายวัย เข้ามานมัสการพระพุทธชินราช มาเที่ยวชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซื้อของฝาก รวมถึง ด้านความเข้าใจ ข้อมูลชัดเจน ควรจัดทำขึ้นให้มีการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ข้อมูลชัดเจนทั้งด้านภาษา ด้านรูปภาพ ด้านสัญลักษณ์ และการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม และสามารถรองรับคนจำนวนมากได้ ด้านความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ ด้านเบาแรงช่วยทุนแรงกาย โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่สำคัญคือ ด้านความปลอดภัย ต้องมีระบบป้องกันอันตราย ซึ่งด้านนี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่จะสร้างความสบายใจ ความน่าประทับ และความไว้วางใจ เพราะคำว่าอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสม จะต้องตระหนักถึงความปลอดภัย มีระบบป้องกันอันตรายที่มาเป็นอันดับต้นๆ ทั้งด้านการออกแบบ การก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน และสามารถรองรับทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจได้ ด้านพื้นที่ใช้สอยสำหรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับคนทุกรูปร่าง พบว่า ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก 4.การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมของอำเภอเมืองพิษณุโลก พบว่า สถานที่ที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศ (GPS) หรือ Landmaps มาจัดทำข้อมูลด้านอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมมากที่สุด และประชาชนเข้าใช้บริการอารยสถาปัตย์ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื่องด้วยถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก จึงทำให้มีการออกแบบและรองรับด้านอารยสถาปัตย์ได้มาตรฐาน สามารถรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยวได้

รายละเอียด

การอ้างอิง

ผู้ให้ทุน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การอ้างอิง

โชติ บดีรัฐ, สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ, ยุวดี พ่วงรอด, และ นันทพันธ์ คดคง. (2562). การพัฒนารูปแบบอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/502

Endorsement

Review

Supplemented By

Referenced By