• ไทย
  • English
Log In
คลิกลงทะเบียนลืมรหัสผ่าน
โลโก้คลังสารสนเทศ
หน้าแรก
เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • วิสัยทัศน์
  • พันธกิจ
  • นโยบายการพัฒนา
  • โครงสร้างองค์กรและบุคลากร
  • ผู้เชี่ยวชาญ
  • เป้าหมาย
  • การเข้าถึงและการใช้งาน
  • การนำไปใช้และการเผยแพร่
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การติดต่อ
การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
  • ข้อตกลงในการอนุญาตให้จัดทำและเผยแพร่
  • แนวทางปฏิบัติในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
  • แผนการบำรุงรักษาไฟล์ดิจิทัล
  • มาตรฐานรูปแบบไฟล์
  • เกี่ยวกับเมทาดาทา
  • แผนสืบทอดคลังสารสนเทศ
  • มาตรการและแนวทางดำเนินงานเมื่อมีการใช้ทรัพยากรผิดเงื่อนไข
  • แผนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  • กระบวนการทำงาน
  • คู่มือการสืบค้น
  • คู่มือการบันทึกผลงาน
  • ร้องเรียนและขอถอนทรัพยากรสารสนเทศ
การรับรองมาตรฐาน
  • แบบประเมินตนเอง
  • รายงานการประเมินตนเอง
การเยี่ยมชมบันทึกผลงาน
  1. หน้าแรก
  2. ค้นหาตามชื่อผู้แต่ง

เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "ภาสกร ดอกจันทร์"

กรองผลลัพธ์โดยการพิมพ์ตัวอักษรสองสามตัวแรก
กำลังแสดง1 - 14 of 14
  • Results Per Page
  • ตัวเลือกการเรียงลำดับ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) สิริลักษณ์ วงศ์ประสิทธิ์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนว แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวในสถานศึกษาตามแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สังเคราะห์องค์ประกอบจากศึกษาเอกสาร ตํารา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จำนวน 5 คน โดยใช้สูตรการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence Index: IOC) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยการนำองค์ประกอบของการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ระยะที่ 1 มาพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านการ แนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion: FGD) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ด้านนโยบายงานด้านการแนะแนว 2. ด้านการจัดบริการแนะแนวและให้คำปรึกษา 3. ด้านการวางแผนงานด้านการแนะแนว 4. ด้านโครงสร้างบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5. ด้านระบบบริหารงานด้านการแนะแนว 6. ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานแนะแนวแบบมุ่งสัมฤทธิ์ ผลตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสม ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านการแนะแนวแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ทุกองค์ประกอบ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) จิรกฤต ธนกฤตศนนท์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์กู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมกู้ชีพกู้ภัย และโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 248 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรถพยาบาลและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านทักษะความรู้ในการออกปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและศูนย์สั่งการ ด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และด้านการสนับสนุนและขวัญกำลังใจ ตามลำดับ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม 3) ยังขาดการจัดสรรงบประมาณที่จะส่งผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นฐาน 3) การลาออกเนื่องจากค่าตอบแทนไม่พอกับการดำรงชีพ 4) ผู้สมัครเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติยังไม่ผ่านการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน 3. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) จัดทำปฏิทินการจัดอบรมเพื่อแจ้งให้ทุกหน่วยงานทราบ 2) ให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย 3) การนิเทศติดตามศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินทุกแห่งเพื่อหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจให้กับคนทำงาน 4) การถอดบทเรียนการดำเนินงานของการแพทย์ฉุกเฉินในทุกปี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำสู่การแก้ไขให้บุคลากร และ 5) การศึกษาและนำเสนอระเบียบกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาในการหนุนเสริมภารกิจของการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อหาทางออกร่วมกันและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ศักดิ์ดา เอี่ยมชัย; ธนัสถา โรจนตระกูล; ภาสกร ดอกจันทร์
    การศึกษาวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถาม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 34 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งในด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง และด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา และรายได้ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และตำแหน่งในท้องถิ่น 4. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ และตำแหน่งในท้องถิ่น โดยเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสาร การเสริมสร้างความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การสร้างและส่งเสริมการเข้าร่วมประชุม และการสร้างโอกาสในการฝึกอบรมและ พัฒนาทักษะ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พิมพ์รดา ธรรมีภักดี; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาล จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง 0.801 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม AMOS และContent analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, SD= .373) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาทางการพยาบาล ในรูปแบบ 3Y ๋ Model ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ (Visioning) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ มีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน การเปลี่ยนวิสัยทัศน์สู่แผนการลงมือทำ การวางวิสัยทัศน์อนาคต และการรับฟังผู้อื่นเพื่อต่อยอดเป็นวิสัยทัศน์ การตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลง (Sense Making) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ ต้อง Transform นำหน้าการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงเสมอ การผลักดันคนในทีมให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ตีความหมายใหม่จากความไม่แน่นอน และกล้าที่จะทดลอง และการมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ (Goal Achievement) องค์ประกอบของคุณสมบัติ ได้แก่ มุ่งมั่นในความสำเร็จ อดทน ใจสู้ สำนึกแบบเจ้าของงาน พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวในความไม่แน่นอน นำไปสู่การสร้างผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง Y ๋Team
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ยุวดี พ่วงรอด; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอรัญญิก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน โดยผู้วิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นคณะกรรมการและสมาชิกองกองทุนสวัสดิการชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค การเล่าเรื่อง และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง หัวใจสำคัญต้องเริ่มจากบทบาทของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน ในการกระตุ้น ส่งเสริม ให้สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในทุกกระบวนการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จากผลการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม พบว่า บทบาทเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริม สนับสนุนกลไกการทำงาน ด้านทรัพยากร มีรูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงล้อหรือดาว ส่วนเครือข่ายทางสังคมที่เป็นดาวเด่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลเมืองอรัญญิก) เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นศูนย์กลาง และมีความแข็งแรง คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายทางสังคมที่มีความเป็นตัวกลาง คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก มีค่าความหนาแน่น = 0.5 3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการขับเคลื่อนรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง จะต้องมุ่งเน้นให้ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนฯ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ และทำความเข้าใจในบทบาทของตนเองอย่างครอบคลุมและรอบด้าน
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    นโยบายภาครัฐในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พศิน พาณิชย์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 410 คน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ปราชญ์ชาวบ้านในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนส่วนใหญ่เข้ามาท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ คิดเป็นร้อยละ 48.78 และเข้ามาท่องเที่ยวช่วงเดือน ตุลาคม–ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 56.09 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านการดึงดูดการท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการข้อมูลเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างการรับรู้คุณค่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านศักยภาพของบุคลากรชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ได้แก่ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมโดยชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้โดดเด่น ได้มาตรฐาน และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลให้มีความทันสมัย
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ประสิทธิผลการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) กิตติพล บัวทะลา; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลและแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ใช้แบบสอบถาม จำนวน 230 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหาร ปลัดเทศบาล และนายอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดี ใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล รองลงมาคือด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน และด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนปัจจัยการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือด้านความชัดเจนของแผนบูรณาการ รองลงมาคือด้านสมรรถนะของหน่วยงาน ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านทรัพยากรในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติ โดยปัจจัยด้านความชัดเจน ทรัพยากรการติดต่อสื่อสาร และสมรรถนะของหน่วยงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และมีแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ คือเงื่อนเวลา ปริมาณ คุณภาพสถานที่ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จริง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังโครงการ และความจำเป็นเร่งด่วนนำไปสู่ประสิทธิผลในการนำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 3 ด้าน คือ 1) ด้านบรรลุผลนโยบายรัฐบาล 2) ด้านตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชน 3) ด้านบรรลุผลนโยบายผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อไป
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) กัลยารัตน์ วุฒิปรัชญานันท์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณกับ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ผู้วิจัยจะใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือจำนวน 9 คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านนิติธรรมมีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.47 รองลงมาได้แก่ ด้านการตอบสนอง มีค่าเฉลี่ย = 4.45 ด้านประสิทธิภาพ ด้านมุ่งฉันทามติ มีค่าเฉลี่ย = 4.44 ด้านประสิทธิผล ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย = 4.43) ด้านการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย = 4.42 และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย = 4.41 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมขององค์กร และวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .286, .281, .213 และ .207 ตามลำดับ ได้ค่า Adjusted R Square = .665 หรือ 66.50% ส่วนแนวทาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปฏิบัติ พบว่า ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องตระหนักให้ดีเกี่ยวกับการบริหารองค์กรในเรื่องของความคุ้มค่า มีประสิทธิผล
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) นริศรา บำยุทธิ์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 3) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและ เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดขนาดด้วยสูตรสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาค่า t-test และ F-test One-Way ANOVA สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) จำนวน 10 คน โดยผลการวิจัยสรุปว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านปัจจัยสนับสนุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (r = .845**) การรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .458**) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .513**) 3. แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 คือควรมีการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดูแลตนเองและเป็นที่พึ่งต่อคนในครอบครัวและประชาชนในชุมชนได้ เพื่อให้เกิดการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดต่ออื่นๆ ในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) วัชรพล อรุณรัตน์; ธนัสถา โรจนตระกูล; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามมีลักษณะแบบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 คำตอบ และประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (x̄), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), t - test และF - test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการป้องกันตนเองของประชาชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และรองลงมา คือ ด้านการดำเนินการในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และด้านการป้องกันสำหรับสถานที่ทำงาน หรือสถานประกอบการ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ รายได้ ระดบการศึกษา และสถานภาพสมรส มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและอายุ ไม่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ สรุปได้ว่า ควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในการรักษาระยะห่าง การสวมีหน้ากากอนามัย การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆและเข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 กรณีที่เดินทางไปสถานที่มีความเสี่ยงรวมทั้งเพิ่มการประชาสมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีทัศนคติที่ตระหนักและทราบถึงสาเหตุ ความรุนแรง และวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    ภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์; ภาสกร ดอกจันทร์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า โดยใช้วิธีการวิจัยอนาคตเดลฟายแบบปรับปรุงและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญจาก 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ ข้าราชการฝ่ายปกครอง และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับรอบที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม ส่วนรอบที่ 2 และ 3 วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทศวรรษหน้า ดังนี้ (1) บทบาทผู้นำ ประกอบด้วย บทบาทการปกครอง บทบาททางสังคม และบทบาทกลไกของรัฐ (2) มีความรู้ ประกอบ กฎหมาย ระบบราชการ งานสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม การประกอบธุรกิจและการอาชีพ (3) มีทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการวางแผน ทักษะการไกล่เกลี่ย ทักษะทางเทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร และทักษะการประสานงาน (4) บุคลิกภาพ ประกอบด้วย การมีมารยาทและรู้กาลเทศะในสังคม การแต่งตัวดีสะอาดเรียบร้อย การแสดงออกอย่างเหมาะสม และการมีวาจาที่ดี (5) มีคุณธรรม ประกอบด้วย มีความยุติธรรม มีทัศนคติที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความโปร่งใส (6) มีการร่วมมือ ประกอบด้วย การปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง การรับฟังปัญหาทุกภาคส่วน การตัดสินใจร่วมกัน และการสร้างเป้าหมายร่วมกัน (7) ภูมิหลังทางสังคม ประกอบด้วย ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่ บารมีทางการเมือง และประสบการณ์การทำงานสังคม และในการพัฒนา (1) ต้องมีการกำหนดวาระ (2) การเรียนแบบออนไลน์ (3) ต้องกำหนดตัวชี้วัด (4) มีระเบียบรองรับการพัฒนา (5) มีบทลงโทษถ้าไม่พัฒนาตนเอง
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก อย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อัชรี กุลบุตร; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทุนทางวัฒนธรรม และแนวทางการจัดการทุนทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจำนวน 5 แห่ง/จังหวัด ตีความข้อมูลจากเอกสารกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาวิเคราะห์เนื้อหา การตรวจสอบแบบสามเส้า จากกลุ่มตัวอย่างการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมชุมชน ด้านการบริหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นเรื่องทุนทางวัฒนธรรมส่งผลอย่างไรในการพัฒนาและมีกระบวนการอย่างไรที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจในกับชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นที่สำคัญ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีข้อมูล Input คือ ชุมชนควรมีการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลัก “รู้ รัก สามัคคี” และนำทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง ด้านการแต่งกาย ด้านอาหาร ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ และทุนทางวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้ ได้แก่ วิถีชีวิตด้านภาษา ด้านพิธีกรรม ความเชื่อ ด้านศิลปะการแสดง และด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยมีการจัดการ Process คือ การอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรม การสืบสานทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน และมีกระบวนการดำเนินงานตามแบบ “Thai Song Dam” Output คือ ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการอนุรักษ์ สืบสานวิถีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไทยทรงดำ มีฐานเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็ง และแบรนด์ Brand Image ไทยทรงดำ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) รุ่งโรจน์ ฝ้ายเยื่อ; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2.เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3.เพื่อประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 620 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ตามแนวคิดของ Robert K.Greenleaf วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย Chi-Square = 2239.213, df= 727, p-value=0.000, CFI=0.971, TLI=0.969, RMSEA=0.058 และ WRMR= 1.440 2.รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อมเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม แบ่งเป็น 4 หน่วยเรียนรู้ คือ 1)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, 2)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าใจ”, 3)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “เข้าถึง”,และ 4)วิธีแห่งศาสตร์พระราชา “พัฒนา” 3. ผลการประเมินรูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระดับคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63) และระดับคุณภาพความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55)
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) พนาวัน เปรมศรี; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง วิธีการศึกษาเป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 395 คน ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.98) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 4 ตัวแปร เรียงลำดับผลต่อการผันแปรจากมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ (X₈ Beta = .320) ด้านเงินหรืองบประมาณ (X₆ Beta = .265) ด้านคนหรือบุคคล (X₅ Beta = .118) และด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (X₂ Beta = .084) และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ควรมุ่งพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรมีความพร้อมตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายในทุกขั้นตอนมากขึ้น และปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทั้งการปรับทัศคติ และจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

156 ม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

โทรศัพท์: 0-5526-7224-5

เว็บไซต์: library.psru.ac.th

E-mail: lib_pibul@live.psru.ac.th

LiveChat

Pibulsongkram Logo

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

Follow Us
Pibulsongkram Logo

                       

©2025 คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงสำหรับผู้ใช้
  • ข้อเสนอแนะ