ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1

dc.titleผลการใช้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1
dc.title.alternativeEffects of Program development teacher potential in learning management with CREATIVES MODEL to stimulate creativity of mathayomsuksa 1
dc.contributor.authorวนัสนันท์ เกษประสิทธิ์
dc.contributor.advisorพัชราวลัย มีทรัพย์
dc.typeวิทยานิพนธ์/Thesis
dc.thesis.departmentคณะครุศาสตร์
dc.thesis.levelปริญญาโท
dc.thesis.degreenameครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.thesis.disciplineการวิจัยและประเมินทางการศึกษา
dc.thesis.grantorมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.date.issued2565
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) สร้างโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVESMODELเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนไกรในวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ใช้สถิติทดสอบที (Pair-Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบCREATIVES MODEL มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การฝึกปฏิบัติเขียนและการวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้ การนำไปใช้จัดการเรียนรู้ และการจัดนิทรรศการ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลจากผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาศักยภาพครูเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการอบรมและหลังการอบรม พบว่า ความรู้ความเข้าใจของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และแผนการจัดการเรียนรู้ มีความสอดคล้อง/เชื่อมโยง/ครอบคลุม/เหมาะสม มากที่สุด และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากครูผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CREATIVES MODEL เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.subjectครู--การฝึกอบรมในงาน
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
dc.keywordsCREATIVES MODEL
dc.keywordsความคิดสร้างสรรค์
dc.keywordsการพัฒนาศักยภาพครู
dc.identifier.urihttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/449
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
dc.language.isotha
dc.relation.urihttp://dcms.thailis.or.th/dcms/dccheck.php?Int_code=22&RecId=1731&obj_id=8846

ไฟล์ข้อมูล

กลุ่มข้อมูล