เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "ธนัสถา โรจนตระกูล"
กำลังแสดง1 - 11 of 11
- Results Per Page
- ตัวเลือกการเรียงลำดับ
รายการ เมทาเดทาเท่านั้น การบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ปัจจัยและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ชุมชนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้ตารางคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.724 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว รองลงมาคือ เส้นทางการเข้าถึงชุมชน ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวด้านการจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน ด้านการจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2. ปัจจัยการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีผลต่อการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่า แนวทางการบริหารจัดการชุมชนสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มี 6 ข้อ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) การจัดทำแผนท่องเที่ยวของชุมชน 3) การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว 4) ความพร้อมด้านที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) เส้นทางการเข้าถึงชุมชน และ6) การจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก(2567) ศริลินทิพย์ สระสิทธิ์; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 และ 3) ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 290 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ บุคลากรระดับสูงในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ (x̄= 4.60) ด้านความรับผิดชอบในงาน (x̄= 4.58) ด้านทัศนคติ (x̄= 4.55) ด้านทักษะ (x̄= 4.51) ด้านความรู้ (x̄= 4.43) และองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร (x̄= 4.65) ด้านการหาพันธมิตรเข้ามาช่วย (x̄= 4.64) ด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้ (x̄= 4.60) ด้านการมีจุดแข็งเป็นของตัวเอง (x̄= 4.57) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และตำแหน่งงาน ต่างกันมีผลทำให้ความพร้อมของบุคลากรและความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของการเป็นองค์การ Digital 4.0 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์การภาครัฐสู่ยุค Digital 4.0 พบว่า มีการกำหนดนโยบายการปรับเปลี่ยนองค์การ ทั้งด้านการพัฒนาระบบงานและการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบงาน เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานภายในองค์กรสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) นรากรณ์ ค่ำสว่าง; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพือ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที9ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือประชาชนในเขตอําเมืองพิษณุโลก 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า f-test และการทอสอบรายคู่ (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการมีส่วนร่วมรับข้อมูลข่าวสาร ด้านการมีส่วนร่วมให้ข้อมูล ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีด้านการมีส่วนร่วมสนับสนุน และด้านการมีส่วนร่วมในการทํางานทุกขั้นตอน ตามลําดับ 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกัน โดยรวมมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันโดยรวมมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมประชาคมแสดงความคิดเห็นปัญหาความต้องการ ควรจัดให้มีการอบรมหรือกิจกรรมให้ความรู้เข้าใจในการพัฒนาแผนแก่ประชาชน เพื่อสร้างแรงจูงใจและความใกล้ชิดประชาชนรายการ เมทาเดทาเท่านั้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ศักดิ์ดา เอี่ยมชัย; ธนัสถา โรจนตระกูล; ภาสกร ดอกจันทร์การศึกษาวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถาม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 34 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งในด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง และด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา และรายได้ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้ง ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และตำแหน่งในท้องถิ่น 4. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ และตำแหน่งในท้องถิ่น โดยเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ การส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสาร การเสริมสร้างความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การสร้างและส่งเสริมการเข้าร่วมประชุม และการสร้างโอกาสในการฝึกอบรมและ พัฒนาทักษะรายการ เมทาเดทาเท่านั้น บทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการพํฒนาชุมชน อย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) นันทศรัย บัวเผื่อน; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทและภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 338 คน และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่า t – test ค่า F – test และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการรายงานต่อทางราชการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการที่เกี่ยวกับคดีอาญา และภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านคุณลักษณะผู้นำเชิงสถานการณ์ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกันส่วนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีอาชีพ รายได้ สถานภาพ ตำแหน่งงาน และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านต้องพัฒนาความสามารถของตนเองในด้านคุณลักษณะผู้นำที่ดีโดยสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาทักษะการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเกี่ยวกับคดีอาญา การประนีประนอมข้อพิพาท ป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย จัดระเบียบสังคม และให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนรายการ เมทาเดทาเท่านั้น ประสิทธิผลการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสําหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการ ธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ชิดชนก ชัยวัฒน์ตระกูล; ธนัสถา โรจนตระกูล; โชติ บดีรัฐการศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่สามารถใช้และยื่นสินเชื่อ จำนวน 264 คน จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.881 สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ลูกค้าที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า ควรดำเนินการ คือ 1) การประเมินโครงการก่อนดำเนินการที่ผ่านมาให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค 2) การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เพื่อเป็นการทบทวนแผนของโครงการ 3) การประเมินโครงการหรือการประเมินประสิทธิภาพ การประเมินที่ให้เห็นถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการในเชิงของประสิทธิภาพ และ 4) การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการ เพื่อนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานต่อไปรายการ เมทาเดทาเท่านั้น ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) วัชรพล อรุณรัตน์; ธนัสถา โรจนตระกูล; ภาสกร ดอกจันทร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามมีลักษณะแบบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งจาก 2 คำตอบ และประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (x̄), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), t - test และF - test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการป้องกันตนเองของประชาชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และรองลงมา คือ ด้านการดำเนินการในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และด้านการป้องกันสำหรับสถานที่ทำงาน หรือสถานประกอบการ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ รายได้ ระดบการศึกษา และสถานภาพสมรส มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและอายุ ไม่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตจังหวัดแพร่ สรุปได้ว่า ควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในการรักษาระยะห่าง การสวมีหน้ากากอนามัย การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆและเข้ารับการตรวจหาเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 กรณีที่เดินทางไปสถานที่มีความเสี่ยงรวมทั้งเพิ่มการประชาสมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีทัศนคติที่ตระหนักและทราบถึงสาเหตุ ความรุนแรง และวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรครายการ เมทาเดทาเท่านั้น ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) ดำรงค์ชัย หยวกยง; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น 2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น และ 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ ข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 219 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร นายกเทศบาลเมือง นายกเทศบาลตำบล จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t- test F-test การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเวลาที่ใช้ในงาน (x̄= 4.25) รองลงมาด้านคุณภาพงาน (x̄= 4.22) ด้านปริมาณงาน (x̄= 4.19) และด้านค่าใช้จ่าย (x̄= 4.11) 2. ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารขององค์กร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร และด้านความมั่นคงในงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการท้องถิ่น พบว่า มีการกำหนดนโยบายการบริหารขององค์กรที่ชัดเจน ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับตำแหน่งและความสามารถ ส่งเสริมการประสานงานภายในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสร้างความรู้สึกถึงความมั่นคงในการทำงาน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ข้าราชการท้องถิ่นที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นรายการ เมทาเดทาเท่านั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถีในเขตอําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565) นฤมล กุมภาพันธ์; ธนัสถา โรจนตระกูล; โชติ บดีรัฐงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถีในเขต อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขต อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขต อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในเขตอําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลผ่านแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า 1.ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขต อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เรียงตามระดับค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก ดังนี้ ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการประเมินผล และด้านการดําเนินการ อยู่ในระดับมาก 2.ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วม พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ แตกต่างกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคล อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระยะเวลาที่อาศัย ต่างกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ไม่มีความแตกต่างกัน 3. ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในเขต อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยด้านเส้นทางเดินทางท่องเที่ยวในชุมชนอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านที่พักอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นจุดเด่นอยู่ในระดับปานกลางรายการ การเข้าถึงแบบเปิด แนวทางการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2557) นันทพันธ์ คดคง; ธนัสถา โรจนตระกูลการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถานสงเคราะห์ของคนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาด โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ (Yamane) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบ t-test สถิติ F – test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และทำการสนทนากลุ่ม (Focus group) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วสรุปผลเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1.ความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 6 ด้าน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง และรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านที่พักอาศัย ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านเน้นทนาการ ด้านการสร้างรายได้ และด้านบริการทางสังคม และเครือข่ายการเกื้อหนุน 2.เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ผู้อุปการะเลี้ยงดู มีผลต่อการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และ ไม่มีผลต่อการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา 3.แนวทางในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดตั้งสถานสงเคราะห์ของคนชรา ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม พบว่า การจัดตั้งสถานสงเคราะห์ของคนชรา จะเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การตระหนักและใส่ใจในในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ ด้านที่พักอาศัย ด้านเน้นทนาการ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง และด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน เพราะประเด็นเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ผู้สูงอายุได้อยู่ดีกินดี และมีความสุขมากที่สุด เนื่องด้วยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นการแต่งเรื่องหรือสมมุติขึ้นมาเอง เพราะจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ก็ถือเป็นเครื่องการันตีได้ว่า ความต้องการเหล่านี้ยังมีอยู่จริง ซึ่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทราบถึงความต้องการเหล่านี้และต้องเร่งดำเนินการเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ผู้สูงอายุถือเป็นประชาชนคนหนึ่งในท้องถิ่นซึ่งมีสิทธิ์มีเสียงเหมือนวัยหนุ่มสาว แต่จะมีความแตกต่างกันก็วัยสังขารที่ล่วงโรย การบริหารสมัยใหม่จะต้องยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งหมายถึงทุกคนจะต้องได้รับบริการสาธารณะอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันรายการ เมทาเดทาเท่านั้น แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) ชลธิชา ทองทา; ธนัสถา โรจนตระกูล; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ และศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 210 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ นายอำเภอพรหมพิราม ปลัดอำเภอ เสมียนตราอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และพัฒนาการอำเภอ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริการ (x̄ = 4.39) ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย (x̄ = 4.30) ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน (x̄ = 4.28) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ระดับมาก (x̄ = 4.21) และศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.39) ด้านทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.28) ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ (x̄ = 4.25) 2. ปัจจัยบทบาทหน้าที่ ได้แก่ ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ด้านการบริการ ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน พบว่า มีการจัดอบรมให้ความรู้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และการใช้สื่อออนไลน์ เช่น Facebook และ LINE เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์ กระบวนการ และขั้นตอน ในการปฏิบัติหน้าที่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว รวมถึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพมากขึ้น