• ไทย
  • English
Log In
คลิกลงทะเบียนลืมรหัสผ่าน
โลโก้คลังสารสนเทศ
หน้าแรก
เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • เกี่ยวกับคลังสารสนเทศดิจิทัล
  • วิสัยทัศน์
  • พันธกิจ
  • นโยบายการพัฒนา
  • โครงสร้างองค์กรและบุคลากร
  • ผู้เชี่ยวชาญ
  • เป้าหมาย
  • การเข้าถึงและการใช้งาน
  • การนำไปใช้และการเผยแพร่
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การติดต่อ
การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การนำฝากและการนำเข้าข้อมูล
  • การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
  • ข้อตกลงในการอนุญาตให้จัดทำและเผยแพร่
  • แนวทางปฏิบัติในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
  • แผนการบำรุงรักษาไฟล์ดิจิทัล
  • มาตรฐานรูปแบบไฟล์
  • เกี่ยวกับเมทาดาทา
  • แผนสืบทอดคลังสารสนเทศ
  • มาตรการและแนวทางดำเนินงานเมื่อมีการใช้ทรัพยากรผิดเงื่อนไข
  • แผนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  • กระบวนการทำงาน
  • คู่มือการสืบค้น
  • คู่มือการบันทึกผลงาน
  • ร้องเรียนและขอถอนทรัพยากรสารสนเทศ
การรับรองมาตรฐาน
  • แบบประเมินตนเอง
  • รายงานการประเมินตนเอง
การเยี่ยมชมบันทึกผลงาน
  1. หน้าแรก
  2. ค้นหาตามชื่อผู้แต่ง

เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "จิรกฤต ธนกฤตศนนท์"

กรองผลลัพธ์โดยการพิมพ์ตัวอักษรสองสามตัวแรก
กำลังแสดง1 - 1 of 1
  • Results Per Page
  • ตัวเลือกการเรียงลำดับ
  • ไม่มีรูปตัวอย่าง
    รายการเมทาเดทาเท่านั้น
    การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2567) จิรกฤต ธนกฤตศนนท์; ภาสกร ดอกจันทร์; กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
    วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์กู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมกู้ชีพกู้ภัย และโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 248 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรถพยาบาลและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านทักษะความรู้ในการออกปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและศูนย์สั่งการ ด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และด้านการสนับสนุนและขวัญกำลังใจ ตามลำดับ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม 3) ยังขาดการจัดสรรงบประมาณที่จะส่งผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นฐาน 3) การลาออกเนื่องจากค่าตอบแทนไม่พอกับการดำรงชีพ 4) ผู้สมัครเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติยังไม่ผ่านการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน 3. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) จัดทำปฏิทินการจัดอบรมเพื่อแจ้งให้ทุกหน่วยงานทราบ 2) ให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย 3) การนิเทศติดตามศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินทุกแห่งเพื่อหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจให้กับคนทำงาน 4) การถอดบทเรียนการดำเนินงานของการแพทย์ฉุกเฉินในทุกปี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำสู่การแก้ไขให้บุคลากร และ 5) การศึกษาและนำเสนอระเบียบกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาในการหนุนเสริมภารกิจของการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อหาทางออกร่วมกันและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

156 ม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

โทรศัพท์: 0-5526-7224-5

เว็บไซต์: library.psru.ac.th

E-mail: lib_pibul@live.psru.ac.th

LiveChat

Pibulsongkram Logo

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

Follow Us
Pibulsongkram Logo

                       

©2025 คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงสำหรับผู้ใช้
  • ข้อเสนอแนะ