เรียกดูข้อมูลตาม ชื่อผู้แต่ง "ชิดชนก ชัยวัฒน์ตระกูล"
กำลังแสดง1 - 1 of 1
- Results Per Page
- ตัวเลือกการเรียงลำดับ
รายการ เมทาเดทาเท่านั้น ประสิทธิผลการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสําหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการ ธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2566) ชิดชนก ชัยวัฒน์ตระกูล; ธนัสถา โรจนตระกูล; โชติ บดีรัฐการศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่สามารถใช้และยื่นสินเชื่อ จำนวน 264 คน จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.881 สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ลูกค้าที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติสำหรับผู้มีรายได้น้อยผ่านสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน พบว่า ควรดำเนินการ คือ 1) การประเมินโครงการก่อนดำเนินการที่ผ่านมาให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค 2) การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เพื่อเป็นการทบทวนแผนของโครงการ 3) การประเมินโครงการหรือการประเมินประสิทธิภาพ การประเมินที่ให้เห็นถึงผลสำเร็จของการดำเนินโครงการในเชิงของประสิทธิภาพ และ 4) การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการ เพื่อนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานต่อไป