วิจัยสถาบัน
Permanent URI for this communityhttps://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/39
ค้นหา
Item การเข้าถึงแบบเปิด การพัฒนาคลังสารสนเทศดิจิทัลสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์ซดรูปัล(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2561) คม กันชูลีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์ซดรูปัล 2) ประเมินประสิทธิภาพคลังสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์ซดรูปัล 3) ประเมินความพึงพอใจต่อคลังสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์ซดรูปัล โดยระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลมีความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่จัดทาโดยอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจานวน 390 คน ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จานวน 15,718 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบคลังสารสนเทศดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Drupal ในการพัฒนาระบบ โปรแกรมภาษา PHP สาหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ และโปรแกรม MySQL สาหรับจัดการฐานข้อมูลระบบ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคลังสารสนเทศดิจิทัล เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลสาหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์ซดรูปัล ได้รับการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ สาขาบรรณารักษ์ ผู้วิจัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ โดยประสิทธิภาพของคลังสารสนเทศดิจิทัลสาหรับงานวิจัย ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้งานและด้านการออกแบบ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และ 4.59 ตามลาดับ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลสาหรับงานวิจัย พบว่า ภาพรวมของผู้ใช้งานระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลสาหรับงานวิจัย มีระดับความพึงพอใจมาก ร้อยละ 85.8 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ผู้ใช้บริการพึงพอใจการใช้ประโยชน์จากคลังสารสนเทศ มีระดับความพึงพอใจมาก ร้อยละ 88.6 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67Item การเข้าถึงแบบเปิด การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบูลสงคราม(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2562) อัจฉราพร แย้มเหม็นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลการเข้าใช้บริการของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลการเข้าใช้บริการของห้องสมุดคณะ และประเมินความเหมาะสม 3)ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการคณะกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มความต้องการสารสนเทศสถิติการใช้บริการห้องสมุดคณะ ประกอบด้วยผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องห้องสมุด จานวน 10 คน และ2) กลุ่มความพึงพอใจของระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุดคณะ จานวน 60 คน (ช่วงเวลาที่เก็บรวบรวมข้อมูล 15 ตุลาคม – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสม เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการสารสนเทศการเข้ามาใช้บริการห้องสมุดคณะที่จาเป็นประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการห้องสมุดนั้น มีความต้องการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = 4.21) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า (1) ด้านประสิทธิภาพและความถูกต้องของระบบ อยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.32) (2) ด้านการออกแบบของระบบมีความต้องการ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16) (3) ด้านการรับรู้ความง่ายและประโยชน์การใช้งานระบบมีความต้องการอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = 4.16) ตามลาดับ 2) ความเหมาะสมของระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ฯ พบว่า ความเหมาะสมของระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย= 4.50) และ3) ความพึงพอใจผู้ใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าใช้บริการห้องสมุด พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.27)Item การเข้าถึงแบบเปิด การพัฒนาวีดิทัศน์การใช้เครื่องวัดปริมาณน้ำอิสระสำหรับนักศึกษา สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2561) ศรัณญา สอนมณีItem การเข้าถึงแบบเปิด การวิเคราะห์การจัดการโครงการคัดแยกขยะ (Waste Hero) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2559(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2559) อัญชลี เล็กประดิษฐ์; นิตยา ปิ่นแก้ว; กิ่งกาญจน์ พรมมาพงษ์; ปัทมาพร เงินแจ้งItem การเข้าถึงแบบเปิด การวิเคราะห์ประมาณการรายรับ-รายจ่ายของงบประมาณเงินรายได้ ด้านการจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2562) ชัชฎาพันธ์ อยู่เพชรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการประมาณการรายรับและรายจ่ายของงบประมาณเงินรายได้ด้านการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แหล่งข้อมูล คือ รายรับและรายจ่ายที่จำเป็นของมหาวิทยาลัย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Microsoft Excel) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า การประมาณการรายรับน้อยกว่าการประมาณการรายจ่าย ร้อยละ 15.50 มีจำนวนประมาณ 33,524,300 บาท โดยมีการประมาณการรายรับจาก 4 แหล่ง ได้แก่ 1)นักศึกษาภาคปกติ 2) นักศึกษาภาค กศ.ป.ป. 3) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 4) นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ และการประมาณการรายจ่ายที่จำเป็นมาจาก 6 รายจ่าย ได้แก่ 1) รายจ่ายเกี่ยวกับบุคลากร 2) รายจ่ายประจำขั้นต่ำ 3) รายจ่ายภารกิจของหน่วยงานส่วนกลาง 4)รายจ่ายนโยบายเร่งด่วนของมหาวิทยาลัย 5) รายจ่ายสมทบก่อสร้าง และ 6) งบกลาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.ประมาณการรายรับ พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 216,244,900 บาท โดยมีคณะ/หน่วยงานที่มีการประมาณการรายรับมากที่สุด คือ คณะวิทยาการจัดการ รองลงมาคือ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตฯ ตามลำดับ 2.ประมาณการรายจ่าย พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 235,857,900 บาท โดยมีคณะ/หน่วยงานที่มีการประมาณการรายจ่ายมากที่สุด คือ สำนักงานอธิการบดี รองลงมาคือ กองกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ กองพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นสถาบันวิจัยและพัฒนา คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โครงการจัดตั้งกองส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศทางด้านกีฬา กองบริการการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม กองนโยบายและแผน โครงการจัดตั้งกองมาตรฐานวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการจัดตั้งกองคลัง กองบริหารงานบุคคล โครงการจัดตั้งสถาบันนานาชาติ และโครงการจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับItem การเข้าถึงแบบเปิด การวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ 2559(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2561) สินี ยิ้มน่วมItem การเข้าถึงแบบเปิด การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาสุขาภิบาลและการควบคุมคุณภาพอาหาร(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2559) ศิริพร ศิริอังคณากุลItem การเข้าถึงแบบเปิด จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (Full Time Equivalent Students : FTES) ภาคเรียนปกติ ประจำปีการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2559) จารุพักตร์ จันทะวงการศึกษาจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (Full Time Equivalent Students : FTES) นักศึกษาภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ภาคปกติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และเพื่อนำเสนอข้อมูลจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ให้แก่คณะ/หน่วยงานนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2559 ในระดับปริญญาตรี ทุกภาคการศึกษา และทุกชั้นปี ตามระบบฐานข้อมูลนักศึกษา ลงทะเบียนของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. จำนวนนักศึกษาหัวจริง (Student by head count) ในปีการศึกษา 2559 ภาคปกติ จำนวนทั้งสิ้น 11,838 คน คณะที่มีจำนวนนักศึกษาหัวจริงมากที่สุด คือ คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 3,294 คน คิด เป็นร้อยละ 27.83 รองลงมา คือ โครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 2,519 คน คิดเป็นร้อยละ 21.28 คณะครุศาสตร์ จำนวน 1,752 คน คิดเป็นร้อยละ 14.80 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1,610 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.60 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 1,284 คน คิดเป็นร้อยละ 10.85 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำนวน 948 คน คิดเป็นร้อยละ 8.01 และคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จำนวน 431 คน คิดเป็นร้อยละ 3.64 ตามลำดับ 2. จำนวนหน่วยกิตนักศึกษา(Student Credit Hours : SCH) ในปีการศึกษา 2559 มีจำนวน นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่เปิดสอนตามคณะต่างๆ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตนักศึกษา เท่ากับ 334,100 SCH คณะที่มีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่เปิดสอนตามคณะต่างๆ มากที่สุด คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 79,599 SCH รองลงมา คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 70,456 SCH คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 56,036 SCH โครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 44,271 SCH คณะครุศาสตร์ จำนวน 38,964 SCH คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จำนวน 18,307 SCH และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำนวน 26,467 SCH ตามลำดับ 3. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (Full-time Ezuivlent student : FTES) ในปีการศึกษา 2559 มีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่เปิดสอนตามคณะต่างๆ คิดเป็นจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) เท่ากับ 9,280.57 FTES คณะที่มีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลามากที่สุด คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 2,211.09 FTES คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1,957.11 FTES คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 1,556.56 FTES โครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 1,229.75 คณะ ครุศาสตร์ จำนวน 1,082.34 FTES คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำนวน 735.19FTES และคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จำนวน 508.53 FTES (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2560) การให้บริการสอนแก่นักศึกษาสังกัดคณะตนเอง คณะที่ให้บริการสอนแก่นักศึกษาเต็มเวลาในสังกัดของตนเองมากที่สุด คือ คณะวิทยาการจัดการ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 52,326 SCH รองลงมาคือ โครงการ จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 38,187 SCH คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็น จำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 37,234 SCH คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 37,190 SCH คณะครุศาสตร์ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 31,047 SCH คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คิดเป็น จำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 21,967 SCH คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 7,234 SCH การให้บริการสอนแก่นักศึกษาสังกัดคณะอื่น คณะที่ให้บริการสอนแก่นักศึกษาสังกัดคณะอื่นมากที่สุด คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 42,409 SCH รองลงมา คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 33,222 SCH คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 11,073 SCH คณะครุศาสตร์คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ7,917 SCH โครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ คิดเป็นจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 6,084 SCH คณะวิทยาการจัดการ คิดเป็น จำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 3,710 SCHItem เมทาเดทาเท่านั้น รายงานการวิเคราะห์สภาพการศึกษาของนักศึกษาคงอยู่คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี)ประจำปีการศึกษา 2554-2558(มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2559) กรวรรณ ทองสอน