กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ธนัสถา โรจนกูลกล้าณรงค์ แสนพะเยาว์2025-07-012566https://psruir.psru.ac.th/handle/123456789/438การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ 2) ปัจจัยที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้แบบสอบถาม คือ สมาชิกชุมชนท่องเที่ยว 3 ชุมชน จำนวน 335 คน และกลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้นำชุมชนหรือผู้แทนชุมชน คณะกรรมการชุมชน และสมาชิกในชุมชน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่แนวคิดและความสามารถของคน คุณภาพชีวิตคนในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนและการบริหารจัดการและความสัมพันธ์ของชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย ด้านศักยภาพขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านทรัพยากร ด้านทักษะและสิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปปฏิบัติ 3. แนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พบว่า 3.1 ความชัดเจนของนโยบาย ควรกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วม ให้ชัดเจน เพื่อสร้างอาชีพ และกระจายรายได้ให้แก่คนในชุมชน 3.2 ศักยภาพขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ควรจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว 3.3 ทรัพยากร ควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนผ่านเฟชบุค (Facebook) ไลน์ (Line) และเว็บไซด์ (website) ของหน่วยราชการ 3.4 ทักษะและสิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย ควรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยวแก่คนในชุมชน 3.5 ชุมชนควรมีการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมและบริการของท่องเที่ยวชุมชน เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่อไปthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การท่องเที่ยวเชิงนิเวศพิษณุโลก--การท่องเที่ยวการพัฒนาแบบยั่งยื่นการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดพิษณุโลกDriving Policies for Economic Development at the Foundation for Sustainable Development: Case Study of Community Tourist Attraction Development of Phitsanulok Provinceวิทยานิพนธ์/Thesisมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม